กราฟฟิตี้ศิลปะเพื่อชุมชน

ดุรงค์ฤทธิ์ สุดสงวน
นักประชาสัมพันธ์ กองสื่อสารภายใน

     ศิลปะกราฟฟิตี้ คือ การเขียนภาพลงบนผนัง โดยทั่วไปที่เห็นจะมีลักษณะของการพ่น (boming) เซ็นเป็นตัวหนังสือ หรือ เป็นรูปภาพ โดยเริ่มต้นจากที่เมืองฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา แพร่มาถึงไทย เห็นกันหลากหลายในมุมมองของคนทั่วไป ภาพรวมดูเหมือนว่า ทำให้สภาพรกรุงรัง ไม่น่ามอง แต่ในอีกด้านข้อดีที่น่าสนใจทีเดียวในแง่มุมของความเป็นศิลปะ

   ชุมชนหัวตะเข้ (ชุมชนหลวงพรต-ท่านเลี่ยม) เป็นแหล่งท่องเที่ยวชานเมืองของกรุงเทพมหานคร ใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ ใช้แนวคิดในการนำศิลปะมาปรับใช้เพื่อเสริมการท่องเที่ยว  เนื่องจากอยู่ใกล้สถานศึกษาที่สอนเกี่ยวกับศิลปะ เช่น วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ประกอบกับคนในชุมชนมีผู้ที่ศึกษาทางด้านศิลปะมากมาย กลุ่มคนที่ชื่นชอบศิลปะจึงรวมตัวนำกราฟฟิตี้มาปรับใช้ เพื่อวัตถุประสงค์เป็นแหล่งท่องเที่ยวของคนที่สนใจศิลปะ การถ่ายภาพ และคนที่มีไลฟ์สไตล์สมัยใหม่ รองรับนักท่องเที่ยว

     ทั้งชาวไทยและต่างชาติ โดยมีผู้สนับสนุนค่าใช้จ่าย ดังนี้

  • เทศบาล อำนวยความสะดวกด้านการประสานงานเพื่อขอความอนุเคราะห์ด้านพื้นที่ที่เหมาะสมในการจัด

     กิจกรรม การเตรียมทำความสะอาด ฯลฯ

  • ภาคเอกชนในชุมชน สนับสนุนสีรองพื้น,น้ำดื่ม,อาหาร เป็นต้น
  • กลุ่ม BKKgraff สนับสนุนสีสเปรย์และรวบรวมศิลปินในประเทศและต่างประเทศ รวม 70  คน

     โครงการนี้มีระยะเวลาดำเนินการ 2 วัน คือ เมื่อปลายปี 2560 ศิลปินร่วมกันจัดทำกราฟฟิตี้บนผนังรั้วโรงเรียน วิทยาลัย ตลอดแนวทางเข้าชุมชน ความยาวกว่า 200 เมตร

     ประโยชน์ที่ได้รับของโครงการนี้ คือ

  1. ศิลปะได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างเป็นรูปธรรม
  2. เป็นแหล่งรวมของผู้สนใจศิลปะ ได้มาร่วมกันแสดงงานและทำในสิ่งที่ชอบร่วมกัน
  3. ใช้พื้นที่ว่างเปล่าให้มีคุณค่ามากขึ้น
  4. ชาวบ้านได้ประโยชน์ มีอาชีพเสริมเพราะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น

     ภาพสวยๆ ได้ถูกร้อยเรียงเป็นเรื่องราวที่ดูมีเสน่ห์ดึงดูดผู้มาเยือนได้เป็นอย่างดี นับเป็นการใช้ฝีมือวาดภาพบนกำแพงเพื่อประโยชน์ต่อชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม

ใส่ความเห็น