สังคมยุคดิจิทัลมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตประจำวันของเราอย่างมาก บางทีเราอาจเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงไปโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว เกือบทุกคนต้องมีบัตร ATM เพื่อใช้เบิกจ่ายเงินสดในชีวิตประจำวัน ช่วง 1-2 ปีนี้ เกือบทุกธนาคารเชิญชวนให้เปลี่ยนบัตรรุ่นเดิม ๆ ไปสู่บัตรที่เรียกว่า chip card แต่หลายๆ ท่านอาจไม่ทันสังเกตว่า บัตรใหม่ที่เราได้มีคุณสมบัติใหม่ๆ เพิ่มเติมมาด้วยคือ การใช้งานแบบ Contactless ซึ่งการใช้งานแบบนี้ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า NFC นั่นเอง นอกเหนือจากการใช้งาน NFC บนบัตรเครดิตร/บัตรเดรดิตแล้ว ในโทรศัพท์มือถือหลายๆ รุ่น ก็ยังได้เพิ่มความสามารถนี้ขึ้นมาเช่นกัน ทำให้เราสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น
NFC (Near Field Communication) คือ เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลแบบไร้สายด้วยคลื่นความถี่ในระยะใกล้ 10 เซนติเมตร สามารถส่งข้อมูลได้แบบแตะแล้วอ่านเลย ใช้ไฟฟ้าน้อย และยังสามารถใช้กับอุปกรณ์ที่ไม่มีไฟฟ้าได้
เราสามารถใช้ NFC บนโทรศัพท์มือถือทั้งในรูปแบบกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์ หรือ เชื่อมโยงกับบัตรเครดิต เพื่อชำระค่าบริการต่างๆ โดยใช้กันแพร่หลายในญี่ปุ่น เกาหลี และฮ่องกง การนำมาใช้งานในระบบโดยสารก็เป็นการใช้งานที่ประโยชน์เพราะสามารถนำมาให้บริการอย่างรวดเร็ว ล่าสุดที่ประเทศอังกฤษได้นำการติดตั้งกับระบบขนส่งมวลชน ผู้โดยสารสามารถจ่ายค่าเดินทางทั้งรถไฟและรถเมล์ได้จากระบบเดียวกันเมื่อเดินทางในลอนดอน โดยแตะโทรศัพท์กับเครื่องอ่าน เช่นเดียวกับบัตร Oyster ซึ่งเป็นบัตรสำหรับการโดยสารรถสาธารณะในลอนดอน โดยไม่ต้องป้อนรหัสบัตรสามารถแตะผ่านประตูได้ทันที
การจ่ายเงินซื้อของที่ต้องมีการนับเงินและรอเงินทอน เสียเวลา ยุ่งยาก การนำเทคโนโลยี NFC มาพัฒนาระบบจ่ายเงินจึงเป็นเป้าหมายที่ลดปัญหาต่างๆ เหล่านี้ โดยบริษัทผู้ให้บริการต่างๆ เช่น VISA MASTERCARD Unionpay ก็ได้นำผลิตภัณฑ์ทางการให้บริการการเงิน ออกมาให้บริการในชื่อต่างๆ เช่น VISA ให้บริการในชื่อ “VISA payWave” MasterCard ให้บริการชื่อ “PayPass” UnionPay ให้บริการชื่อ “QuickPass” เป็นต้น
ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นชื่อใด ล้วนแต่ใช้เทคโนโลยี NFC ทั้งสิ้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เราสามารถใช้บริการ Contactless Payment ต่างๆ ได้ สิ่งแรกคือ เราต้องหาสัญลักษณ์การให้บริการ NFC ก่อน บนอุปกรณ์ต่างๆ ณ จุดให้บริการจ่ายเงิน
วิธีการใช้งานก็เหมือนกันทุกผู้ให้บริการ คือ ใช้แตะที่จุดให้บริการ ง่ายๆ แค่นี้ การชำระเงินก็สมบูรณ์แล้ว
ตัวอย่าง การใช้บัตรที่รองรับ NFC ในการชำระเงิน โดยส่วนใหญ่จุดแตะบัตรจะอยู่บนส่วนหน้าจอ หรือส่วนหัวของอุปกรณ์
(www.visa.co.th)
ในด้านความปลอดภัยในการใช้งาน มีการใช้การรักษาความปลอดภัยแบบหลายระดับในการปกป้องธุรกรรม ซึ่งรวมถึง การเข้ารหัส และการดำเนินการผ่านเครือข่ายที่มีความปลอดภัย นอกจากนี้ นอกจากนี้ บัตรจะอยู่ในมือของลูกค้าตลอดในขณะทำการชำระเงิน ซึ่งช่วยเพิ่มการควบคุมและความปลอดภัยให้กับผู้ถือบัตร ณ จุดขายอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีบทวิเคราะห์ว่าการทำธุรกรรมผ่าน Visa payWave สามารถทำได้รวดเร็วกว่าจ่ายเงินสดสามเท่าและทำได้สะดวกกว่า การชำระเงินแบบไร้สัมผัสช่วยปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้าด้วยการทำธุรกรรมที่เร็วขึ้น รอคิวสั้นลง และไม่ต้องให้รหัส PIN ในกรณีที่มียอดค่าใช้จ่ายต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เช่น 1500 บาท แต่ถ้าในกรณีที่ต้องการใช้จ่ายมากกว่านี้ยังคงต้องใส่ PIN เพื่อยืนยัน
ส่วนการใช้งานบนอุปกรณ์อื่นๆ ที่กำลังเป็นที่แพร่หลาย คือ โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์ส่วนใส่ต่างๆ โดยอุปกรณ์เหล่านี้ต้องรองรับการใช้งานระบบ NFC นั่นเอง โดยเราสามารถดูได้คุณสมบัติเฉพาะอุปกรณ์ (Specification) จากผู้ผลิต มีชื่อเรียกการให้บริการต่างๆ กันไป เช่น Apple Pay , Google Pay, Samsung Pay, Fitbit Pay โดยเราต้องทำการผูกบัตรเครดิตกับอุปกรณ์เหล่านี้เพื่อใช้อ้างอิงในการชำระเงิน ทั้งนี้เลขบัตรดิจิทัลบนอุปกรณ์ที่ได้ จะเป็นเลขอีกชุดหนึ่งไม่เหมือนกับบัตรเครดิต/เดบิตจริง โดยใช้เทคโนโลยี token มาดำเนินการ
- Apple Pay เปิดให้ใช้บริการจำกัดเฉพาะพื้นที่เท่านั้น ในประเทศไทยยังไม่เปิดให้บริการ ประเทศที่เปิดให้บริการแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น
- Google Pay หรือ Android Pay ก็เปิดให้บริการเฉพาะพื้นที่ เช่นกัน
- Fitbit Pay เป็นบริการ NFC บนนาฬิกาข้อมือแบบ smart device ก็กำลังเป็นที่นิยมอีกรูปแบบหนึ่ง สะดวกสบาย เข้ากับ lifestyle ของคนหนุ่มสาว เพราะตัวนาฬิกาเองยังสามารถวัดชีพจร และมีโปรแกรมช่วยในการออกกำลังกายต่างๆ เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ
- Samsung Pay เป็นบริการเฉพาะบนมือถือยี่ห้อ Samsung บางรุ่นเท่านั้น ถึงจะมีอุปกรณ์ที่รองรับจำกัด แต่นอกจากการให้บริการบน NFC แล้ว ยังมีการให้บริการบนเทคโนโลยี MST เป็นทางเลือก ในการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตดิจิทัลเช่นกัน นอกจากบนมือถือแล้ว Samsung ยังให้บริการบน smart device นาฬิกา Samsung Gear/Fit ด้วยโดยตำแหน่งที่ใช้แตะโทรศัพท์จะแตกต่างกันคือ ถ้าเป็นระบบ MST จะเอามือถือแนบช้างตำแหน่งที่ใช้บัตรเครดิตปกติรูดเทคโนโลยี MST คือ Magnetic Secure Transmission หรือMSTคือเทคโนโลยีที่ใช้ในการส่งผ่านข้อมูลผ่านการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยคลื่นแม่เหล็กโดย MST จะเลียนแบบแถบแม่เหล็กโดยการส่งคลื่นแม่เหล็กจากโทรศัพท์ซัมซุงของท่านไปสู่เครื่องชาระเงินตามร้านค้าตัวอย่างการใช้ Samsung Pay ที่ประเทศเกาหลีใต้