FAQ กองการเงินและบัญชี

1. ถาม กรณีจะขอรายงานค่าใช้จ่ายโครงการผู้ใช้ต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ ต้องติดต่อกองการเงินและบัญชี กลุ่มงานงบประมาณพร้อมทั้งแจ้งเลขรหัสโครงการ จะจัดให้ภายใน 1 วัน
2. ถาม กรณีที่ลูกจ้าง วว. (ลูกจ้างประจำ, ทั่วไปและเฉพาะกิจ) ต้องไปฝึกอบรมต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ ต้องดำเนินการขออนุมัติเข้าร่วมฝึกอบรมโดยผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้นถึงรอง ผวว.     ตามสายงานนั้น ๆ (กรณีมีการนำเสนอผลงานด้วย ผวว. จะเป็นผู้อนุมัติ)
3. ถาม ผู้ใช้มีความประสงค์จะซื้อครุภัณฑ์ต้องสร้างใบขอเสนอซื้อ (PR) หรือทำใบสั่งของภายใน (IR) เดิม
ตอบ ให้ดำเนินการใบสั่งของภายใน (IR) เดิมก่อน ขั้นตอนต่อไปงบประมาณจะสร้างใบขอเสนอซื้อ (PR) ให้ ซึ่งต้องส่งเรื่องให้กองพัสดุและคลังพัสดุออกเลขสินทรัพย์ก่อน เพื่อผ่านระบบ SAP ได้
4. ถาม เอกสารที่ต้องแนบในการยืมเงินเพื่อเดินทางปฏิบัติงานต่างจังหวัดมีอะไรบ้าง
ตอบ 1. แบบฟอร์มใบขอเดินทาง 

2. ใบขออนุญาตใช้ยานพาหนะ

3. สัญญาการยืมเงิน

5. ถาม ถ้าต้องการยกเลิกใบขอเสนอซื้อ (PR) ควรทำอย่างไร
ตอบ กรณีที่ไม่ประสงค์จะใช้เลขที่ PR นั้น ให้ขอแบบฟอร์มที่งบประมาณหรือ Download ใน Intranet ระบุเหตุผลที่ไม่ดำเนินการให้ ผอ.ตามสายงานอนุมัติ ส่งเอกสารให้งบประมาณดำเนินการยกเลิกต่อไป แต่ถ้ามีความประสงค์จะใช้เลขที่ PR นั้นต่อไป ให้ดำเนินการในระบบ SAP ได้โดยเลือกลบรายการที่ต้องการยกเลิกออก พิมพ์รายการที่ต้องการซื้อเข้าไปใหม่         กดบันทึก (Save)
6. ถาม กรณีที่ผู้ใช้มีความจำเป็นต้องดำเนินการจัดหาพัสดุเอง ต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ กรณีที่พัสดุมีลักษณะเฉพาะกองพัสดุและคลังพัสดุไม่สามารถดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ ผู้ใช้ดำเนินการทำใบขอเสนอซื้อ (PR) และกรอกแบบฟอร์มมอบหมายเจ้าหน้าที่พัสดุ เพื่อแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ ผู้ใช้ส่งเอกสารไปที่กองการเงินและบัญชี (กลุ่มงานงบประมาณ) จากนั้นผู้ใช้สามารถดำเนินการเองได้
7. ถาม ค่าใช้จ่ายในการต่อทะเบียน/พ.ร.บ./ตรวจสภาพและประกันภัยรถยนต์ต้องใช้แบบฟอร์มไหนในการเบิกจ่าย
ตอบ ค่าใช้จ่ายในการต่อทะเบียน/พ.ร.บ./ตรวจสภาพรถยนต์ให้ใช้แบบฟอร์มใบจองเงินระบุเลขทะเบียนรถยนต์ด้วย ส่วนค่าประกันภัยให้ใช้แบบฟอร์มใบขอเสนอซื้อ (PR) 

 

8. ถาม การสร้างใบขอเสนอซื้อ (PR) เงินนอกงบประมาณในระบบ SAP จะเลือกประเภทธุรกิจและรายการข้อผูกพันอย่างไร
ตอบ เงินนอกงบประมาณประเภทธุรกิจ : 2000 และรายการข้อผูกพัน : 5000000
9. ถาม ซื้อของที่ระลึก (ของขวัญ) เพื่อมอบผู้ทำคุณประโยชน์แก่ วว. ต้องดำเนินการเบิกจ่ายอย่างไร
ตอบ ก่อนดำเนินการต้องจัดทำบันทึกข้อความขออนุมัติผู้ว่าการในการซื้อของที่ระลึกวงเงินที่จัดซื้อได้ตามระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายค่ารับรองและค่ารับรองประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2538 ข้อ 12 พร้อมแนบรายชื่อผู้ทำคุณประโยชน์
10. ถาม ในการประชุม (ภายใน วว.)แต่ละครั้งที่มีการเบิกค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ 1. กรณีวงเงินไม่เกิน 1,000 บาท เบิกจ่ายให้ใช้แบบฟอร์มใบจองเงินแนบใบสำคัญจ่าย (ใบเสร็จรับเงิน) ให้ผอ.ฝ่าย/ศูนย์/สำนักอนุมัติได้ 

2. ถ้าวงเงินเกินครั้งละ 1,000 บาท แต่ไม่เกิน 8,000 บาท ให้รอง ผวว. ในแต่ละสายงานเป็น      ผู้มีอำนาจอนุมัติ ผู้ว่าการมีอำนาจอนุมัติค่ารับรองในการประชุมได้ทุกจำนวน

11. ถาม ในการจัดฝึกอบรมและการจัดประชุมแต่ละครั้ง ค่าอาหารและเครื่องดื่มจะเบิกจ่ายได้เท่าใด
ตอบ การเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมตามมาตรการประหยัด 

(อ้างถึงที่ กค 0406.4/840 ลงวันที่ 16 ม.ค.56)

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มการฝึกอบรมและการประชุม

–  เบิกในอัตราไม่เกิน 35 บาท/มื้อ/คน กรณีจัดในสถานที่ราชการ

–  เบิกในอัตราไม่เกิน 50 บาท/มื้อ/คน กรณีจัดในสถานที่เอกชน

ค่าอาหารในการประชุม

–  เบิกในอัตราไม่เกิน 120 บาท/มื้อ/คน

ค่าอาหารในการฝึกอบรม

–  เบิกในอัตราไม่เกิน 400 บาท/วัน/คน กรณีจัดในสถานที่ราชการ

–  เบิกในอัตราไม่เกิน 700 บาท/วัน/คน กรณีจัดในสถานที่เอกชน

 

12. ถาม การจัดฝึกอบรม/สัมมนาต้องให้ใครเป็นผู้อนุมัติ
ตอบ ผู้มีอำนาจอนุมัติในการจัดฝึกอบรม/สัมมนา (ข้อบังคับ วว. ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม พ.ศ. 2545) จะแยกตามค่าใช้จ่ายในการดำเนินการแต่ละครั้ง ดังนี้ 

–  รอง ผวว. สามารถอนุมัติค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 100,000 บาท

–  ผวว. อนุมัติได้ทุกวงเงิน

13. ถาม ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการเดินทางไปต่างประเทศ เช่น ค่าทำวีซ่า/หนังสือเดินทาง จะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการเดินทางให้ส่งเบิกแนบในใบขอเดินทางได้ 

 

14. ถาม 

 

กรณีหน่วยงานมีเงินรายได้จากการรับงานถือเป็นเงินนอกงบประมาณ ทาง วว. ต้องหักไว้ 20% ของรายรับ (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพื่อเป็นค่าบริหารโครงการ แต่ถ้าเจ้าของโครงการมีความประสงค์ขอยกเว้นไม่ให้หัก 20% ควรดำเนินการอย่างไร
ตอบ เจ้าของโครงการต้องขออนุมัติยกเว้นถึงผู้ว่าการ แต่เมื่อปิดโครงการจะขอรับเงินรางวัลไม่ได้
15. ถาม ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าขนส่งเชื้อพันธ์จุลินทรีย์ไปทดสอบยังต่างประเทศ ต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ ใช้ใบจองเงินพร้อมแนบบันทึกข้อความขออนุมัติส่งวัสดุงานบริการไปยังต่างประเทศ
16. ถาม การจัดสัมมนา/ฝึกอบรม/ประชุมที่ทาง วว. เป็นผู้จัดได้เชิญบุคคลภายนอกเป็นวิทยากรและ    มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น เช่น ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง (ตั๋วเครื่องบิน/ค่าโดยสารรถ) ค่าที่พัก ฯลฯ จะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้แนบกับบันทึกข้อความที่ขออนุมัติจัดสัมมนา/ฝึกอบรม/ประชุม ส่งเบิกได้
โดยเบิกตามข้อบังคับสถาบันฯ ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน
17. ถาม การยืมเงินทดรองจ่ายกรณีเร่งด่วนใช้เวลาเท่าใด จึงจะได้รับเงิน
ตอบ ภายใน 1 วัน (กรณีผู้มีอำนาจอยู่ครบใน Payment ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต)
18. ถาม กรณีที่เจ้าของโครงการทำเรื่องเสนอโครงการเข้าไปที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เพื่อขอเงินงบประมาณดำเนินงานในโครงการจะดำเนินงานใช้เงินได้เมื่อไร
ตอบ ต้องติดต่อไปที่เจ้าของเงิน (กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ) ก่อนและได้โอนเงินเข้า วว. ถึงจะดำเนินการใช้จ่ายเงินได้
19. ถาม กรณีที่ใช้รถยนต์ของ วว. ไปปฏิบัติงานภายนอกและเติมน้ำมันรถยนต์ จะใช้เอกสารอะไร  เพื่อเบิกจ่ายค่าใช้จ่าย
ตอบ ใช้ใบจองเงินพร้อมใบสำคัญจ่าย (ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี (ถ้ามี))
20. ถาม กรณีไปซื้อน้ำมัน เพื่อใช้กับเครื่องจักร/เครื่องสูบน้ำ/เครื่องปั่นไฟ ฯลฯ ต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ ใช้ใบขอเสนอซื้อ (PR) แนบกับใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี (ถ้ามี) พร้อมบันทึกข้อความเหตุผลความจำเป็นที่ต้องดำเนินการ
21. ถาม กรณีเดินทางไปต่างประเทศต้องซื้อบัตรโดยสารเครื่องบินระหว่างประเทศ จะทำใบขอเสนอซื้อ (PR) ในเลขบัญชี G/L อะไร
ตอบ ใช้หมวดค่าใช้สอย-ค่าใช้สอยในการเดินทางต่างประเทศ : เลขที่บัญชี G/L 5050448
22. ถาม การแจ้งยกเลิกเงินยืมที่ได้รับเงินไปแล้ว (ซื้อ/จ้าง/เดินทางหรือจัดประชุม) จะต้องทำอย่างไร
ตอบ ทำบันทึกชี้แจงเหตุผลการยกเลิกพร้อมนำเงินที่ขอยืมส่งคืนที่งานการเงินทันที
23. ถาม การจ่ายเงินตามใบสั่งซื้อ (PO) ใช้เวลาประมาณกี่วัน
ตอบ นับจากกองการเงินฯ รับเอกสารจากกองพัสดุฯ จะจ่ายเงินภายใน 7 วันทำการ
24  ถาม วิธีการขอค้ำประกันสัญญาคืนจะต้องทำอย่างไร
ตอบ กองพัสดุฯ เป็นผู้จัดทำทะเบียนคุมเงินมัดจำ/เงินประกันสัญญา เมื่อครบกำหนดระยะเวลาในการค้ำประกัน กองพัสดุฯ จะทำหนังสือแจ้งเตือนให้กับบริษัท/ห้างร้าน เพื่อให้ขอติดต่อขอรับคืนเงินหรือหนังสือสัญญาค้ำประกันต่อไป
25. ถาม วิธีการชำระเงินค่าบริการ/วิเคราะห์/ทดสอบมีกี่ช่องทาง
ตอบ มี 5 ช่องทาง 1. ชำระเป็นเงินสด 

2. เช็ค

3. โอนผ่านธนาคาร มีเลขที่บัญชี

– ธนาคารกรุงไทย สาขาพหลโยธิน เลขที่บัญชี 039-1-43463-2 (ในงบ) เช่น เคลียร์เงินยืม, เงินโอนจากกรมบัญชีกลาง เป็นต้น

– ธนาคารกรุงไทย สาขาพหลโยธิน เลขที่บัญชี 039-1-07800-3 (นอกงบ) เคลียร์เงินยืม, เงินโครงการ, ค่าตรวจสอบและวิเคราะห์ เป็นต้น

– ธนาคารกรุงไทย สาขาบางปู เลขที่บัญชี 217-4-17160-6 (นอกงบ) (เฉพาะทดสอบและวิเคราะห์ ศทม.)

4. อินเตอร์เน็ต โอนเข้าบัญชีดังกล่าว

5. ชำระเป็นธนาณัติ

26. ถาม วว.โอนเงินให้บริษัท/ร้านค้าที่ขายสินค้า/บริการได้หรือไม่
ตอบ วว.จ่ายเช็ค เพื่อชำระค่าสินค้า/บริการให้บริษัท/ห้างร้านเท่านั้น จะไม่มีการโอนเงินให้ เนื่องจากต้องมีใบเสร็จรับเงิน
27. ถาม ในกรณีที่หน่วยงานต่าง ๆ ชำระค่าสินค้า/บริการให้กับ วว. จะสามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้หรือไม่
ตอบ วว. เป็นหน่วยงานองค์การของรัฐได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฏากร
28. ถาม การขอแก้ไขใบเสร็จรับเงินจะต้องทำภายในกี่วัน
ตอบ ภายใน 7 วันทำการ
29. ถาม การยืมเงินจะยืมมากกว่าใบขอเสนอซื้อ (PR) ได้หรือไม่
ตอบ ยืมมากกว่าไม่ได้ แต่น้อยกว่าหรือเท่ากับ PR ได้
30. ถาม ลูกจ้างประเภทไหนที่สามารถยืมเงินทดรองจ่ายได้
ตอบ ลูกจ้างประจำ
31. ถาม การทำงานล่วงเวลาลูกจ้างทำได้หรือไม่
ตอบ วว. มีลูกจ้างประจำ ลูกจ้างทั่วไป และลูกจ้างเฉพาะกิจ สามารถทำล่วงเวลาได้
32. ถาม การทำงานล่วงเวลาต้องทำเรื่องให้ใครเป็นผู้ขอทำงานล่วงเวลา
ตอบ ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ขอทำงานล่วงเวลา หากขอทำงานล่วงเวลาเกิน 40 ชั่วโมง ต้องให้       รอง ผวว.เป็นผู้อนุมัติ
33. ถาม ถ้าทำใบเสร็จรับเงินสูญหายจะต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ ให้ปฏิบัติดังนี้ (ตามระเบียบ วว. ว่าด้วยการเงินและบัญชี พ.ศ. 2527) 

  • กรณีสามารถขอสำเนาใบเสร็จรับเงินได้

–  ให้ผู้รับเงินลงนามรับรองสำเนาใบเสร็จรับเงิน

  • กรณีไม่สามารถขอสำเนาใบเสร็จรับเงินได้

–  ให้ไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจ

–  ทำบันทึกโดยชี้แจงเหตุผลพฤติการณ์ที่ใบสำคัญจ่ายสูญหายและไม่อาจขอสำเนาใบเสร็จรับเงินนั้นได้พร้อมทั้ง คำรับรองว่ายังไม่เคยนำใบสำคัญคู่จ่ายมาเบิกจ่ายและหากพบภายหลังจะไม่นำมาเบิกอีกเสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้ว่าการ

34. ถาม การไปปฏิบัติงานนอก วว. ในวันหยุดจะเบิกค่าล่วงเวลาได้หรือไม่
ตอบ เบิกค่าล่วงเวลาได้ แต่ต้องทำใบขออนุมัติทำงานล่วงเวลา แบบ ลว.1 และใบรายชื่อขออนุมัติทำงานล่วงเวลา แบบ ลว.2
35. ถาม ค่าโทรศัพท์บริการ SMS โหวตต่าง ๆ เบิกได้หรือไม่
ตอบ เบิกไม่ได้ เนื่องจากถือเป็นการใช้ส่วนตัว ไม่ใช่งานราชการ จึงไม่สามารถเบิกได้
36. ถาม บริการ เอ็ม เอ็ม เอส ทรานสปอร์ตเบิกได้หรือไม่
ตอบ สามารถเบิกได้ เนื่องจากได้สอบถามไปยังเครือข่ายแล้วปรากฏว่าบริการดังกล่าว เป็นบริการเกี่ยวกับส่งข้อความเป็นรูปภาพ ผู้ใช้อาจใช้ส่งรูปภาพเกี่ยวกับงานต่าง ๆ ในหน่วย
37. ถาม 

 

การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน กรณีผู้ปฏิบัติงานมิใช่พนักงาน วว. จะเบิกจ่าย    อย่างไร
ตอบ เบิกตามอัตราของ วว. โดยเทียบตำแหน่งระดับกับพนักงาน วว. 

(ดูได้จากIntranet เผยแพร่เอกสาร กบค.-011บัญชีการเปรียบเทียบตำแหน่งบุคคลภายนอก)

38. ถาม การเดินทางในประเทศใครเป็นผู้อนุมัติเดินทาง
ตอบ – ผอ.หป., ผอ.กอง, ผอ.สถานีวิจัยหรือตำแหน่งเทียบเท่า อนุมัติการเดินทางได้ไม่เกิน 3 วัน 

– ผอ.สำนัก, ผอ.ฝ่าย, ผอ.ศูนย์ หรือตำแหน่งเทียบเท่าหรือผู้เชี่ยวชาญวิจัย, ผู้เชี่ยวชาญวิชาการ ซึ่งทำหน้าที่ ผอ.โครงการ อนุมัติการเดินทางได้ไม่เกิน 7 วัน

– รองผู้ว่าการ อนุมัติการเดินทางได้ไม่เกิน 15 วัน

– ผู้ว่าการ อนุมัติการเดินทางได้ตามเวลาได้ภายในระยะเวลาที่เห็นสมควร

 

 

39. ถาม อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศ ได้อัตราใหม่เท่าใด
ตอบ ระดับ วว. 1-4 ค่าเบี้ยเลี้ยง (เหมาจ่าย) 600 บาท/ค่าเช่าที่พัก (เหมาจ่าย) 1,000 บาท 

ระดับ วว. 5-8 ค่าเบี้ยเลี้ยง (เหมาจ่าย) 800 บาท/ค่าเช่าที่พัก (เหมาจ่าย) 1,200 บาท

ระดับ วว. 9-11 ค่าเบี้ยเลี้ยง (เหมาจ่าย) 1,000 บาท/ค่าเช่าที่พัก (เหมาจ่าย) 1,400 บาท

รองผู้ว่าการ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ นักบริหารพิเศษ

ค่าเบี้ยเลี้ยง จ่ายจริงหรือเหมาจ่าย 1,200 บาท

ค่าเช่าที่พัก  จ่ายจริงหรือเหมาจ่าย 1,600 บาท

ผู้ว่าการ ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าเช่าที่พัก จ่ายจริงเท่านั้น

หมายเหตุ จ่ายจริงหรือเหมาจ่าย หมายถึง ให้เลือกลักษณะการเบิกจ่ายก่อนเดินทางไปปฏิบัติงาน ทั้งนี้ดูรายละเอียดตามข้อบังคับว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน        (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2556 บัญชี1

40. ถาม อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศเริ่มใช้ตั้งแต่เมื่อไร
ตอบ ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2556 (ถัดจากวันประกาศ ณ วันที่ 23 เมษายน 2556)
41. ถาม การนับเวลาไปปฏิบัติงาน เพื่อคำนวณค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางภายในประเทศนับอย่างไร
ตอบ ให้นับตั้งแต่เวลาออกจากสถานที่อยู่อาศัยหรือจากสำนักงาน วว. จนกลับถึงสถานที่อยู่อาศัยหรือสำนักงานให้นับยี่สิบสี่ชั่วโมงเป็นหนึ่งวัน
42. ถาม การนับเวลาไปปฏิบัติงานเศษชั่วโมงกี่ชั่วโมง จึงจะได้อีกหนึ่งวัน
ตอบ ต้องเกินกว่าสิบสองชั่วโมง จะได้อีกหนึ่งวัน
43. ถาม การเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปปฏิบัติงานเบิกติดต่อกันได้กี่วัน
ตอบ เบิกติดต่อกันได้เพียงระยะเวลาไม่เกินสามสิบวัน นับแต่วันออกเดินทาง แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องเบิกเกินกว่าสามสิบวันต้องขออนุมัติจาก ผวว. ก่อน
44. ถาม ในการยืมเงินทดรองจ่ายเดินทางไปปฏิบัติงานจะต้องเดินทางภายในกี่วัน นับจากที่ได้รับเงิน
ตอบ – ในกรณีที่เดินทางภายในประเทศ จะต้องเดินทางภายใน 7 วัน นับจากวันที่รับเงิน 

– ในกรณีเดินทางไปต่างประเทศ (ชั่วคราว) จะต้องเดินทางภายใน 30 วันนับจากวันที่รับเงิน ถ้าไม่ได้เดินทางภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จะต้องนำเงินส่งคืนทันที

45. ถาม ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดที่ต้องเคลียร์ในเอกสารเคลียร์เดินทางไปปฏิบัติงานในประเทศมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
ตอบ ค่าโทรศัพท์ ค่าไปรษณีย์ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็นที่จะต้องจ่ายในการเดินทาง
46. ถาม ในการเช่ารถ ใครเป็นผู้อนุมัติให้เช่ารถ
ตอบ ผู้ว่าการ, รองผู้ว่าการ เป็นผู้มีอำนาจในการอนุมัติให้เช่ารถ และต้องให้ ผอ.กองกลางหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรว่าไม่สามารถจัดรถให้ได้
47. ถาม อัตราค่าเช่ารถตู้เบิกได้วันละเท่าใด
ตอบ วันละ 1,500 บาท (ไม่รวมค่าน้ำมัน)
48. ถาม 

 

การขอเช่ายานพาหนะเพื่อเดินทางไปปฏิบัติงาน หากไม่เช่ารถตู้และต้องการเช่ารถกระบะ  จะทำอย่างไร
ตอบ ต้องทำบันทึกชี้แจงเหตุผลขออนุมัติเป็นกรณีพิเศษต่อผู้ว่าการ
49. ถาม ผู้เดินทางไปปฏิบัติงานโดยใช้ยานพาหนะส่วนตัวจะต้องขออนุมัติจากใคร
ตอบ ให้ผู้บังคับบัญชาในระดับ ผอ.ฝ่ายหรือเทียบเท่า เป็นผู้อนุมัติ
50. ถาม การเบิกเงินค่าพาหนะจะเบิกได้ในกรณีเดินทางไปที่จังหวัดใดบ้าง
ตอบ กรุงเทพมหานคร, ปทุมธานี, นนทบุรี, สมุทรปราการ
51. ถาม การเบิกเงินค่าพาหนะผู้ใดเป็นผู้ลงนามสั่งจ่าย
ตอบ ผู้บังคับบัญชาระดับ ผอ.ฝ่าย/ศูนย์/สำนัก ขึ้นไปเป็นผู้ลงนาม
52. ถาม การจ่ายเงินค่าพาหนะเป็นค่ารถรับจ้าง ซึ่งไม่สามารถขอใบเสร็จรับเงินจากผู้รับจ้างจะทำอย่างไร
ตอบ ผู้ปฏิบัติงานทำใบรับรองการจ่ายเงินตามแบบที่สถาบันกำหนด
53. ถาม ผู้ว่าการมีอำนาจสั่งจ่ายเงินทุน วว. ได้ครั้งละเท่าไร
ตอบ 

 

ผู้ว่าการมีอำนาจสั่งจ่ายเงินทุนได้ครั้งละไม่เกิน 1,000,000 บาท ถ้าเกิน 1,000,000 บาท ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ
54. ถาม การยืมเงินทดรองจ่ายของหน่วยงานหรือโครงการ ยืมได้จำนวนเงินเท่าใด และใครเป็นผู้รับผิดชอบ
ตอบ การยืมเงินทดรองจ่ายของหน่วยงานหรือโครงการยืมได้ไม่เกินหน่วยงานหรือโครงการละ 50,000 บาท โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของรองผู้ว่าการ, ผู้อำนวยการของหน่วยงานหรือโครงการนั้น ๆ และหน่วยงานที่ยืมเงินทดรองจ่ายของหน่วยงานหรือโครงการต้องทำทะเบียนคุมการใช้จ่ายไว้ด้วย
55. ถาม ในการคืนเงินยืมทดรองจ่ายของหน่วยงานจะต้องคืนเงินเมื่อใด
ตอบ การคืนเงินยืมทดรองจ่ายของหน่วยงานจะต้องคืนเงินในครอบครองก่อนวันสุดท้ายของปีงบประมาณนั้น ๆ ให้กับกองการเงินและบัญชีทั้งจำนวนและในกรณีที่ไม่สามารถคืนเงินยืมดังกล่าวได้ ให้ทำบันทึกชี้แจงเหตุผลให้ทราบด้วย
56. ถาม การจ่ายเงินเพิ่มประจำสถานีจ่ายให้กับใคร
ตอบ การจ่ายเงินเพิ่มประจำสถานีจะจ่ายให้กับพนักงานหรือลูกจ้างของ วว. ถ้าได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติงานประจำอยู่ ณ วว. ต่อมาภายหลังได้รับคำสั่งให้ไปดำรงตำแหน่งและปฏิบัติงานประจำ ณ สถานีวิจัยในท้องถิ่นกันดาร โดยมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มประจำสถานีวิจัยในท้องถิ่นกันดารในอัตราร้อยละ 20 ของเงินเดือนหรือค่าจ้างรายเดือน แต่ต้องไม่น้อยกว่าเดือนละ 300 บาท
57. ถาม การจำหน่ายหนี้สูญของลูกหนี้ที่เรียกเก็บไม่ได้ใครเป็นผู้พิจารณาอนุมัติจำหน่ายหนี้สูญ
ตอบ ลูกหนี้แต่ละรายที่เป็นลูกหนี้ไม่เกิน 100,000 บาท ผู้ว่าการเป็นผู้อนุมัติ 

ลูกหนี้แต่ละรายที่เป็นลูกหนี้เกิน    100,000 บาท กรรมการเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ

58. ถาม ผู้ได้มีสิทธิเบิกค่ารับรองประจำตำแหน่งและเบิกได้เท่าไร
ตอบ 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การเบิกค่ารับรองประจำตำแหน่งเบิกได้ตามที่จ่ายจริงและต้องมีใบสำคัญเบิก โดยเบิกได้เดือนละ 1 ครั้ง ไม่สามารถสะสมยอดไปเบิกในเดือนถัดไปได้ 

–  ประธานกรรมการ เบิกได้ไม่เกินเดือนละ 12,000 บาท

–  ผู้ว่าการ เบิกได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท

–  รองผู้ว่าการ, ผู้เชี่ยวชาญพิเศษหรือนักบริหารพิเศษ เบิกได้ไม่เกินเดือนละ 8,000 บาท

–  ผอ.ฝ่าย, ผอ.ศูนย์, ผอ.สำนัก เบิกได้ไม่เกินเดือนละ 6,000 บาท

–  ผอ.หป., ผอ.กองหรือผอ.สถานีวิจัย เบิกได้ไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท

ส่วนผู้ที่ทำหน้าที่หัวหน้าโครงการหรือ ผอ.โครงการ มีอัตราดังนี้

–  ผู้เชี่ยวชาญวิจัยหรือผู้เชี่ยวชาญโครงการ ไม่เกินเดือนละ  6,000 บาท

–  นักวิจัยอาวุโส หรือนักวิชาการอาวุโส ไม่เกินเดือนละ  4,000 บาท

–  นักวิจัยหรือนักวิชาการ ไม่เกินเดือนละ  2,500  บาท

59. ถาม 

 

ในการเดินทางไปปฏิบัติราชการในประเทศสามารถเบิกค่าโดยสารเครื่องบินของบริษัทสายการ     บินได้ทุกบริษัทหรือไม่ หรือเบิกจ่ายได้เฉพาะบัตรโดยสารของการบินไทย
ตอบ ผู้เดินทางไปปฏิบัติราชการในประเทศ ซึ่งมีสิทธิเดินทางโดยสารเครื่องบินสามารถเบิกค่าโดยสารเครื่องบินของสายการบินที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศ ซึ่งคือเป็นยานพาหนะประจำทางที่ผู้เดินทางไปราชการมีสิทธิเบิกค่าโดยสารเครื่องบินตามสิทธิที่ตนได้รับ (อ้างถึง ที่ กค 0409.6/ว.298 ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2549)
60. ถาม ในการเดินทางไปปฏิบัติราชการต่างประเทศชั่วคราว ถ้าหากต้องเดินทางโดยสารการบินอื่นทีไม่ใช่สายการบินไทย จะต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ –  กรณีเดินทางโดยสายการบินอื่น มีวิธีปฏิบัติ 2 กรณี : 

กรณีที่ 1  สายการบินอื่นถูกกว่าสายการบินไทย

– ซึ่งจะต้องเปรียบเทียบราคาค่าบัตรโดยสารที่ซื้อจากการบินไทยกับสายการบินอื่น หากราคาบัตรโดยสารของสายการบินอื่นมีราคาต่ำกว่าการบินไทยไม่น้อยกว่า 25% ก็สามารถซื้อได้

 

กรณีที่ 2  สายการบินไทยไม่มีเที่ยวบินไปยังประเทศนั้น หรือเที่ยวบินในวันที่ต้องการ

– จะต้องมีหนังสือสอบถามราคาค่าบัตรโดยสารจากการบินไทยก่อน และให้การบินไทยมีหลักฐานอื่นใดเป็นหนังสือแจ้งให้ทราบภายใน 3 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือสอบถาม หากการบินไทยไม่สามารถแจ้งให้ทราบภายในระยะเวลากำหนดหรือแจ้งว่าไม่สามารถจัดบัตรโดยสารให้ได้ ก็สามารถซื้อบัตรโดยสารจากสายการบินอื่นได้ โดยอยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการ

(อ้างถึง หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0408.2/ว112 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2546)

61. ถาม การขอเดินทางไปต่างประเทศ (ชั่วคราว) ผู้ใดเป็นผู้อนุมัติ
ตอบ ผู้ว่าการ
62. ถาม การเบิกค่าใช้จ่ายเดินทางไปต่างประเทศ (ชั่วคราว) จะใช้อัตราแลกเปลี่ยนวันไหน
ตอบ ใช้อัตราและเปลี่ยนก่อนวันเดินทาง 1 วันทำการ
63. ถาม หลักเกณฑ์การจ่ายค่าสมนาคุณวิทยากรเป็นอย่างไร
ตอบ หลักเกณฑ์การจ่าย 

–  บรรยาย – ไม่เกิน 1 คน

–  อภิปราย/สัมมนาเป็นคณะ ไม่เกิน 5 คน

–  แบ่งกลุ่ม – ฝึกภาคปฏิบัติ

– อภิปราย              ไม่เกินกลุ่มละ 2 คน

– ทำกิจกรรม

วิทยากรเกินที่กำหนดให้เฉลี่ยจ่าย

64. ถาม มีการนับเวลาบรรยายในการเบิกค่าสมนาคุณวิทยากรอย่างไร
ตอบ –  นับตามเวลาที่กำหนดในตารางฝึกอบรม 

–  แต่ละชั่วโมงการฝึกอบรมต้องไม่น้อยกว่า 50 นาที

–  ชั่วโมงการอบรมไม่ถึง 50 นาที แต่ไม่น้อยกว่า 25 นาที ให้เบิกได้กึ่งหนึ่ง

65. ถาม คิดอัตราค่าสมนาคุณวิทยากรอย่างไร
ตอบ (ก)  วิทยากรที่เป็นบุคลากรของรัฐ 

การฝึกอบรมระดับต้นและระดับกลาง  ไม่เกินชั่วโมงละ 600 บาท

การฝึกอบรมระดับสูง                    ไม่เกินชั่วโมงละ 800 บาท

(ข)  วิทยากรที่ไม่ใช่บุคคลตามข้อ (ก)

การฝึกอบรมระดับต้นและระดับกลาง  ไม่เกินชั่วโมงละ 1,200 บาท

การฝึกอบรมระดับสูง                    ไม่เกินชั่วโมงละ 1,600 บาท

หมายเหตุ หากมีความจำเป็นต้องใช้วิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถพิเศษต้องจ่าย         ค่าสมนาคุณวิทยากรสูงกว่าอัตรากำหนดให้อยู่ในดุลพินิจของ ผวว.

 

66. ถาม การขอรับเงินรางวัลและ/หรือค่าสมนาคุณทำไมต้องหัก 20% เข้า วว.และโครงการบางโครงการทำไมจึงมีการรับทั้งค่าสมนาคุณและเงินรางวัล
ตอบ การหัก 20% จากเงินที่ผู้ว่าจ้างจ่ายทุกงวดเป็นส่วนที่ วว. เรียกเก็บเหมือนกันทุกโครงการ
ค่าสมนาคุณเป็นเงินที่ผู้เป็นเจ้าของทุนระบุไว้ในข้อเสนอโครงการ/สัญญา ซึ่งอาจไมได้รับทุกโครงการ แต่เงินรางวัลเป็นผลการบริหารโครงการที่สามารถประหยัดหรือลดค่าใช้จ่าย เพื่อให้มีเงินเหลือ คือหลังจากได้รับค่าสมนาคุณตามที่ระบุไว้ในข้อเสนอโครงการ/สัญญาแล้ว ยังมีเหลือสามารถขอรับเงินรางวัลได้อีก 50% ของเงินที่เหลือ (ตามข้อบังคับว่าด้วยการให้รางวัลฯ ข้อ 11 และข้อ 1 

 

67. ถาม เงินอุดหนุนโครงการและเงินอุดหนุนอื่น มีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ – เงินอุดหนุนโครงการเป็นการบันทึกการรับรู้รายได้ของโครงการ ซึ่งจะเท่ากับค่าใช้จ่ายของโครงการ เช่น ค่าใช้จ่ายเดินทาง 1,000 บาท จะรับรู้รายได้เท่ากับ 1,000 บาทเช่นเดียวกัน 

– เงินอุดหนุนอื่น เป็นการบันทึกรายได้จากค่าบริการส่วนเพิ่ม 20% ที่หักจากเงินรับเข้าโครงการแต่ละงวด และเงินที่เหลือจากโครงการที่เสร็จตามสัญญา (ปิดโครงการ)

 

68. ถาม วิธีคำนวณรายได้สุทธิของโครงการตาม KPI คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ทำอย่างไร
ตอบ สูตรคำนวณ 

 

เงินคงเหลือสุทธิ = เงินรับโครงการ (ไม่รวม VAT) – ค่าใช้จ่าย – เงินหัก 20% เข้า วว.

69. ถาม เมื่อปิดโครงการเงินนอกงบประมาณแล้วต้องการขอรับเงินรางวัลและ/หรือค่าสมนาคุณต้องทำอย่างไร
ตอบ เงินนอกงบประมาณจะขอรับเงินรางวัลและ/หรือค่าสมนาคุณเมื่อเสร็จสิ้นโครงการมีขั้นตอนดำเนินการดังนี้ 

1.  ผู้อำนวยการ/หัวหน้าโครงการทำบันทึกแจ้งความประสงค์ขอปิดโครงการ      โดยแนบเอกสารสำเนาข้อเสนอโครงการ (เอกสารที่1) และสำเนาสัญญา/บันทึกข้อตกลง (เอกสารที่ 2) เพื่อแสดงว่าโครงการมีค่าตอบแทนนักวิจัยหรือค่าสมนาคุณนักวิจัยเป็นจำนวนเงินเท่าไร ส่งต่อผู้อำนวยการกองการเงินและบัญชี เมื่อจบสัญญาหรือดำเนินการแล้วเสร็จ

2.  กองการเงินและบัญชี โดยทีมงบประมาณจัดพิมพ์รายงานรายรับของโครงการ (เอกสารที่ 3) รายงานการใช้จ่ายเงินของโครงการ (เอกสารที่ 4) และทีมบัญชีจัดทำสรุปรายได้-ค่าใช้จ่ายจริงพร้อมจำนวนเงินที่ได้รับเงินรางวัลและ/หรือค่าสมนาคุณ (เอกสารที่ 5) แล้วส่งกลับให้ผู้อำนวยการ/หัวหน้าโครงการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

3.  ผู้อำนวยการ/หัวหน้าโครงการ กรอกข้อมูล (เอกสารที่ 5) และลงชื่อรับรองในแบบฟอร์มแบบคำขอรับเงินรางวัลและ/หรือค่าสมนาคุณ (เอกสารที่ 6) และแบบฟอร์มสรุปรายได้-ค่าใช้จ่ายโครงการ เพื่อขอรับเงินรางวัล (เอกสารที่ 7) (แบบฟอร์มสามารถเข้าไปพิมพ์ข้อมูลได้ใน TISTR Intranet ไปที่หัวข้อข้อมูลและข่าวสาร เลือกเผยแพร่เอกสาร เลือกแบบฟอร์ม เลือกกองติดตามและประเมินผล เลือกแบบฟอร์ม กตป.005) แล้วส่งเอกสารทั้งหมด คือ (เอกสารที่ 1-7) ที่กล่าวข้างต้น ส่งให้ผู้อำนวยการกองการเงินและบัญชี

4.  ผู้อำนวยการกองการเงินและบัญชีลงชื่อรับรองใบแบบฟอร์มสรุปรายได้-ค่าใช้จ่ายโครงการ เพื่อขอรับเงินรางวัล แล้วส่งเอกสารทั้งหมดให้เลขานุการคณะกรรมการพิจารณาและตรวจสอบผลงานที่มีสิทธิ์ได้รับรางวัลหรือค่าสมนาคุณหรือพิจารณามอบประกาศเกียรติคุณ

5.  เลขานุการฯ นำเสนอคณะกรรมการพิจารณาและตรวจสอบผลงานที่มีสิทธิได้รับรางวัลหรือค่าสมนาคุณหรือพิจารณามอบประกาศเกียรติคุณ พิจารณา ลงมติ และเลขานุการฯ จัดทำรายงานการประชุม

6.  ประธานคณะกรรมการฯ นำเสนอ ผวว. พิจารณาอนุมัติ

7.  เลขานุการฯ ส่งเอกสารที่ ผวว.อนุมัติแล้วให้ ผอ.กองการเงินและบัญชี ทีมการเงินแจ้งให้ผู้อำนวยการ/หัวหน้าโครงการส่งรายชื่อบุคคลที่ได้รับเงินรางวัลและ/หรือค่าสมนาคุณของโครงการ เพื่อจ่ายเงินรายบุคคลและคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซึ่งจะนำไปจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายรายบุคคลตอนสิ้นปี เพื่อนำส่งสรรพากร

70. ถาม 

 

ทำบันทึกขอปิดโครงการเพื่อขอรับเงินรางวัลและ/หรือค่าสมนาคุณไปแล้ว ทำไมยังไม่ส่งรายงานสรุปรายได้-ค่าใช้จ่ายกลับมาให้เจ้าของโครงการต้องใช้เวลานานเท่าไร
ตอบ การจัดทำสรุปรายได้-ค่าใช้จ่ายของโครงการได้นั้น ต้องไม่มีรายการค่าใช้จ่ายใด ๆ ค้างอยู่ที่กระบวนการดำเนินการของเอกสารในฝ่ายการคลัง เช่น รายการค่าใช้จ่ายที่จัดทำ PR ขอใช้เงินของโครงการที่ขอปิดทุกรายการต้องมีการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ส่วนโครงการที่มีการหักเงินประกันผลงานต้องได้รับเงินคืนจากผู้ว่าจ้างเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเงินรายได้ของโครงการต้องได้รับครบทุกงวด จึงจะสามารถส่งรายงานสรุปรายได้-ค่าใช้จ่ายให้ได้
71. ถาม การยืนยันยอดตัวเลขตามบัญชีของ วว. กับคู่ค้าทำเพื่ออะไร
ตอบ การยืนยันยอดตัวเลขตามบัญชีของ วว. กับคู่ค้า เช่น ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นวิธีการตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกบัญชีที่ผู้สอบบัญชีอาศัยวิธีการนี้ เพื่อตรวจสอบข้อมูลซึ่งกันและกัน ในกรณีที่มีความแตกต่างกัน ก็จะนำไปสู่การค้นหาสาเหตุ เพื่อทำการแก้ไขโดยทั่วไปการยืนยันยอดสามารถกระทำได้โดยการส่งจดหมายพร้อมระบุตัวเลขที่ต้องการยืนยันและวันที่ที่แสดงตัวเลขดังกล่าว และเพื่อมิให้เกิดความเข้าใจผิดในจดหมายยืนยันยอดจะมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่า “ไม่ใช่การทวงหนี้แต่เป็นไปเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกบัญชีของทั้งสองฝ่าย” รายการที่เรามักพบว่ามีการยืนยันยอด เช่น ลูกหนี้ เจ้าหนี้ธนาคาร เป็นต้น
72. ถาม หากให้ กงบ. ออกใบแจ้งหนี้ควรทำอย่างไร
ตอบ การให้ออกใบแจ้งหนี้เพื่อเรียกเก็บเงิน 

1. จะต้องทำใบแจ้งเก็บเงิน

2. แจ้งรายละเอียดในการแจ้งหนี้

3. มีรหัสโครงการหรือหน่วยงาน

4. แจ้งชื่อ ที่อยู่ของลูกค้าให้ชัดเจน

5. หากจะจัดส่งใบแจ้งหนี้เองจะต้องระบุด้วย

73. ถาม 

 

หากออกใบแจ้งหนี้ให้ลูกค้าแล้ว กงบ. ได้รับชำระเงินแล้วและออกใบเสร็จรับเงินให้ลูกค้าแล้ว แจ้งให้หน่วยงานภายในทราบหรือไม่ โดยวิธีใด
ตอบ เมื่อ กงบ.ออกใบเสร็จรับเงินตามใบแจ้งหนี้เรียบร้อยแล้ว จะจัดส่งให้ลูกค้า ส่งสำเนาใบเสร็จรับเงินให้กับหน่วยงาน 1 ชุด
74. ถาม ถ้าใบแจ้งหนี้ระบุชื่อ ที่อยู่ แต่จะให้จัดส่งไปยังอีกที่หนึ่งได้หรือไม่
ตอบ กรณีนี้ทำได้ แต่ต้องระบุว่าจะให้จัดส่งใบแจ้งหนี้ไป ณ ที่ใดให้ชัดเจน
75. ถาม หากหน่วยงานจะไปรับเงินจากลูกค้าเองตามใบแจ้งหนี้ จะทำได้หรือไม่
ตอบ กรณีนี้ทำได้ โดยหน่วยงานต้องทำบันทึกขอยืมใบเสร็จรับเงินจาก กงบ. และเมื่อรับเงินแล้วจะต้องรีบนำใบเสร็จรับเงินพร้อมเช็คมาคืนให้ กงบ.ในทันที หรือนำเช็คเข้าฝากบัญชีธนาคารของ วว.ตามประเภทเงินได้
76. ถาม เมื่อออกใบแจ้งหนี้ หากจะขอยกเลิกจะทำอย่างไร
ตอบ 

 

ผู้รับบริการทำบันทึกขอยกเลิกใบแจ้งหนี้พร้อมรายละเอียดในการขอยกเลิกพร้อมทั้งแนบใบแจ้งหนี้ต้นฉบับมาที่ กงบ.
77. ถาม หากออกใบแจ้งหนี้แล้ว จะขอเพิ่มเติมข้อมูลได้หรือไม่
ตอบ หากต้องการเพิ่มเติมข้อมูล จะต้องดูว่าข้อมูลนั้นทำได้หรือไม่ เพราะการทำใบแจ้งหนี้ในระบบ SAP ไม่เปิดให้แก้ไขเพิ่มเติมบางกรณีได้
78. ถาม เมื่อส่งใบแจ้งหนี้ไปแล้ว ลูกค้าแจ้งว่าไม่ได้รับจะทำอย่างไร
ตอบ ใบแจ้งหนี้ที่ กงบ. ส่งให้ลูกค้าแต่ละรายจะต้องมีการลงทะเบียนตอบรับ หากไม่ได้รับเอกสารจะส่งกลับมาและระบุว่าทำไมลูกค้าถึงไม่ได้รับ สาเหตุอาจมาจากชื่อ ที่อยู่ไม่ชัดเจนไม่ถูกต้อง หากลูกค้ายืนยันว่าไม่ได้รับ กงบ. จะจัดส่งให้ใหม่แต่ต้องระบุชื่อที่อยู่ของผู้รับให้ชัดเจน
79. ถาม หากกรณีที่โครงการวิจัยยังไม่ได้เซ็นสัญญาหรือบันทึกข้อตกลง แต่ลูกค้าขอให้ออกใบแจ้งหนี้ให้ก่อนได้หรือไม่
ตอบ กรณีนี้ทำได้โดยทางกองการเงินจะออก Manual แต่หากทราบรหัสโครงการจะดีกว่า
80. ถาม การแจ้งหนี้ กงบ.ทวงกี่ครั้ง หากไม่จ่ายจะต้องทำอย่างไร
ตอบ หาก กงบ. แจ้งหนี้ไปแล้ว รวมทั้งหมด 3 ครั้ง คือ 

  1. ออกใบแจ้งหนี้
  2. ทำจดหมายทวงพร้อมสำเนาใบแจ้งหนี้ 2 ครั้ง

ระยะเวลาที่ใช้ประมาณ 3 เดือน หากลูกหนี้ยังไม่จ่ายจะทำหนังสือไปยังกองกฎหมาย เพื่อให้ดำเนินตามกฎหมายและจะแจ้งไปยังเจ้าของโครงการ/หน่วยงานเจ้าหนี้ เพื่อให้ทราบด้วย

 

ใส่ความเห็น