เรียบเรียงโดย นางนพวรรณ หาแก้ว
กองจัดการความรู้
>>>>>
หลักการและเหตุผล
การให้บริการด้านฝึกอบรมของ วว. มีหลายหน่วยงานที่รับผิดชอบ ทั้งการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรภายใน วว. การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรภาครัฐและเอกชน เพื่อถ่ายทอดความรู้ เผยแพร่ผลงานวิจัย พัฒนา และบริการเพื่อหารายได้ ซึ่งได้แก่ กองจัดการความรู้ ศูนย์ความรู้, กองพัฒนาบุคคล ฝ่ายทรัพยากรบุคคล, ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา, ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย, สำนักรับรองระบบคุณภาพ, ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ, ฝ่ายวิศวกรรม และฝ่ายนวัตกรรมวัสดุ ที่มีการให้บริการฝึกอบรมในบางหลักสูตรอีกด้วย
เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและกระตุ้นการมีส่วนร่วมของบุคลากร วว. โดยเฉพาะผู้ที่ทำหน้าที่ให้บริการฝึกอบรม ศคร., โดย กจค. ดำเนินการจัดตั้งกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ : ด้านการฝึกอบรม ขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนางานฝึกอบรมของ วว. อย่างระบบ และบูรณาการทำงานร่วมกันของผู้ที่ทำหน้าที่ให้บริการฝึกอบรม ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานให้บริการฝึกอบรมของ วว. มีการจัดการที่เป็นระบบ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและออกแบบหลักสูตร การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายใน และเครือข่ายวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ และหน่วยงานภายนอก รวมถึงการมีฐานข้อมูลลูกค้าที่หลากหลายมากขึ้น เป็นโอกาสในการนำเสนอหลักสูตรที่เป็น package สนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้นตามความเชี่ยวชาญของ วว. โดยกำหนดจัดกิจกรรม 2 ครั้งในรอบปีงบประมาณ 2558 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2558 และวันที่ 31 สิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา
บทเรียนและความรู้ด้านการฝึกอบรม
: ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2558
ประเด็น/สภาพปัญหา | แนวทางการพัฒนา ปรับปรุงงาน |
1. นโยบายการฝึกอบรมเพื่อแสวงหารายได้ของ วว. ซึ่งกำหนดเป็นตัวชี้วัด KPI ของกลุ่มบริหารยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ในด้านการว่าจ้างวิทยากร/ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกและเนื้อหาหลักสูตรที่อยู่ในขอบข่าย ที่สามารถดำเนินการได้ตามภารกิจหน้าที่ |
|
2. วิทยากรภายในที่จะถ่ายทอดความรู้ด้าน ว&ท มีจำนวนจำกัด จากการประสานงานทาบทามที่ผ่านมา พบว่าบางคนไม่มีความพร้อม/ความมั่นใจในการเป็นวิทยากร บางคนไม่มีเวลา และไม่มีตัวชี้วัดที่กำหนดเป็น KPI ที่ระบุให้นักวิจัยต้องให้ความร่วมมือทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้สู่สาธารณะ จึงไม่ให้ความสำคัญในการมาเป็นวิทยากรอบรมเท่าที่ควร |
|
3. ชื่อเสียง วว. ยังมีการประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง วิทยากร วว. และไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากนัก
|
|
4. หัวข้อหลักสูตรยังไม่มีการพัฒนาให้ตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน |
|
5. การให้บริการด้านการฝึกอบรมใน วว. มีหลายหน่วยงานย่อยที่รับผิดชอบ โดยไม่เป็นศูนย์การประสานงานที่เป็นหนึ่งเดียว |
|
: ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2558
ประเด็น/ปัญหา | แนวทางการพัฒนา ปรับปรุงงาน |
1. การปรับปรุงฐานข้อมูลลูกค้า/การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์หลักสูตร
|
|
2. การติดตามความคืบหน้าการปรับปรุงระบบลงทะเบียนออนไลน์
|
|
3. ความคืบหน้าการดำเนินงานตามระบบ ISO 29990 : 2010 |
|
สรุปผลและประโยชน์ของกิจกรรม
จากการจัดกิจกรรม CoPs ด้านฝึกอบรม ทั้ง 2 ครั้ง ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากผู้บริหาร วว. ที่กำกับดูแลการให้บริการด้านฝึกอบรมและบุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่ ในการเข้าร่วมพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นให้เกิดการพัฒนา ปรับปรุง และแนวทางการดำเนินงานในอนาคตไปไปทิศทางเดียวกัน เกิดการบูรณาการการทำงานในมิติใหม่ๆ ที่ วว. ไม่เคยลงมือปฏิบัติมาก่อน นับเป็นโอกาสอันดีที่กิจกรรม CoPs เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยปรับมุมมอง และเปลี่ยนวิธีการ/กระบวนการที่จะก่อให้เกิดความชัดเจนในการทำงานร่วมกันและเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนงานด้านการให้บริการฝึกอบรมไปสู่เป้าหมายและบรรลุวิสัยทัศน์ของ วว. ในอนาคต ซึ่งสรุปประโยชน์ของกิจกรรมที่ได้ดำเนินการ ดังนี้
- เกิดแนวทางปฏิบัติให้บุคลากร วว. รวมกลุ่มแยกตามทักษะ ประสบการณ์ ความสนใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ร่วมกัน
- เป็นแนวทางการค้นคว้าหาความรู้ สร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น รวมถึงการแก้ไขปัญหา และการนำใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน
- เกิดเป็นชุมชนนักปฏิบัติ (CoPs : Community of Practice) ถือเป็นรากฐานสำคัญในการจัดการความรู้ และขับเคลื่อนสู่เป้าหมายองค์กร