ข้อมูลออนไลน์เชือถือได้หรือไม่

เมื่ออินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในประเทศไทย มีผลให้การติดต่อสื่อสารเป็นแบบขยายวงกว้างผ่านคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารชนิดต่างๆ โดยมีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นตัวเชื่อมต่อข้อมูล เพียงเสี้ยวนาทีข้อมูลจากบุคคลหนึ่งสามารถเผยแพร่สู่สาธารณชนได้อย่างง่ายดาย

ยิ่งในปัจจุบันเป็นยุคที่โซเชียลมีเดียกำลังเป็นที่นิยม การโพสและแชร์ทำได้โดยง่าย เครื่องมือที่ช่วยในการผลิตสื่อดิจิทัลมีมากมายให้เลือกใช้ ทั้งยังสามารถเรียนรู้เองได้ไม่ยาก รูปภาพ คลิปวิดีโอ เรื่องราวและเนื้อหาต่างๆ จึงถูกตัดแต่งต่อเติมและเขียนขึ้นอย่างมากมายเพื่อนำออกเผยแพร่ผ่านโซเชียลมีเดีย บางข้อมูลเราไม่อาจทราบได้เลยว่ามีข้อเท็จจริงมากน้อยเพียงใด หรือข้อมูลนั้นเกิดขึ้นนานแล้วแต่ยังคงถูกแชร์วนเวียนอยู่ในโซเชียลมีเดียต่างๆ ไม่รู้จักจบสิ้น

ดังนั้นหากเราได้รับข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์ โซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ต่างๆ แม้กระทั่งอีเมล์ จึงควรพิจารณาก่อนว่ามีความน่าเชือถือแค่ไหน โดยอาจดูจากแหล่งที่มาของข้อมูลว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด มีแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจนหรือไม่ และเพื่อไม่ให้ข้อมูลข่าวสารที่เราไม่แน่ใจว่ามีความน่าเชื่อถือกระจายออกไปมากขึ้น ก็ควรที่จะยั้งใจในการกดแชร์หรือส่งต่อข้อมูลนั้นออกไปสู่สาธารณชน เพราะนอกจากจะเป็นทำให้ข้อมูลเท็จถูกกระจายมากขึ้น ยังเป็นการเพิ่มปริมาณขยะในระบบเครือข่ายอีกด้วย

unnamed

 

Cr. Photo by http://imcreator.com/ (Photo Free)

 

ใส่ความเห็น