7 ขั้นตอนในการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์

 

ติดไวรัสแล้วอย่ากลัว ใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสที่เหมาะกับตัวเอง ติดตั้งโปแกรมป้องกันไวรัสให้เป็น อัพเดตฐานข้อมูลไวรัส (Definition) อยู่เสมอ เปลี่ยนเวอร์ชันใหม่ทันทีที่มีโอกาส อย่ารับไฟล์แปลกหน้า และติดตามข่าวสารอยู่เสมอ นี่คือ  7  ขั้นตอนในการช่วยป้องกันคุณไม่ให้ติดไวรัสคอมพิวเตอร์

1. ใช้โปรแกรมป้องกันไวรัส

การใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสเป็นสิ่งที่คุณควรทำเป็นอันดับแรก  เพราะโปรแกรมเหล่านี้เป็นเหมือนบอดี้การ์ดที่ทำหน้าที่ปกป้องเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ  โปรแกรมป้องกันไวรัสจะทำหน้าที่หลักอยู่สามส่วนคือ ป้องกันไวรัสที่จะเข้ามาในเครื่อง  เป็นการตรวจดูไฟล์ที่จะเข้ามาในเครื่องว่าจะเป็นไวรัสหรือไม่ ? ตรวจจับไวรัสที่เล็ดลอดเข้ามา  สแกนไฟล์ที่อยู่ในเครื่องว่าเป็นไวรัสหรือไม่? กำจัด (Delete)หรือกักกัน (Quarantines) ในกรณีที่พบไฟล์ไวรัส  โปรแกรมป้องกันไวรัสจะทำการลบไฟล์นั้นทิ้ง  แต่ถ้าพบว่าเป็นไฟล์ที่มีความเสียง  แต่ไม่แน่ใจว่าจะเป็นไฟล์ไวรัสหรือลบไม่ได้  โปรแกรมจะทำการกักกันไฟล์ไม่ให้มีการทำงาน โดยการทำงานในสองส่วนแรกจะใช้การเปรียบเทียบฐานข้อมูลการทำงานของไวรัส (Definition)  กับไฟล์ต้องสงสัยว่าเข้าข่ายที่จะเป็นไฟล์ไวรัสหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการลบหรือกักกันไฟล์ต้องสงสัยต่อไป

2. ใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสที่เหมาะกับตัวเอง

โปรแกรมป้องกันไวรัสในปัจจุบันมีอยู่หลายประเภท  ตามแต่ที่ผู้ผลิตแต่ละรายจะประกาศสินค้าออกมาแต่ตัวที่สำคัญ ๆ ที่คุณควรรู้จักจะมีอยู่ไม่กี่ตัว นั่นคือ Anti-Virus เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ป้องกันไวรัส รวมไปถึงสปายแวร์ (Spyware) และแอดแวร์ (Adware)  ได้บางส่วน Firewall  เป็นระบบป้องกันการบุกรุกเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณโดยไม่ได้รับอนุญาติ  ป้องกันการโจมตีโดยที่คุณไม่รู้ตัว Anti-Spyware  เป็นโปรแกรมที่มีหน้าที่กำจัดโปรแกรมจำพวกสปายแวร์และแอดแวร์โดยเฉพาะ  ซึ่งโปรแกรมที่มีหน้าที่กำจัดโปรแกรมจมีการควบคุมที่ง่าย  ผู้ใช้สามารถเลือกใช้งานได้  โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้มากนัก  โดยทั่วไปโปรแกรมเหล่านี้จะมีแยกขายเป็นตัว ๆ  แต่ก็มีการนำเอาโปรแกรมทั้งหมดมารวมกัน  และเพิ่มระบบรักษาความปลอกดภัยอื่น ๆ   เช่น  โปรแกรมป้องกันสแปมเมล์  (Spam Mail)  หรือโปรแกรมกรองข้อมูลที่ไม่เหมาะสม (Content  Filtering)  เข้ามารวมเป็นชุดโปรแกรม Internet  Security  ซึ่งชุดโปรแกรมนี้จะมีระบบการรักษาความปลอดภัยที่ดี และครบถ้วนแต่ผู้ใช้ก็ต้องมีความรู้ในการจัดการระบบรักษาความปลอดภัยมากพอสมควร

3. ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสให้เป็น

ในการติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส  หลาย ๆ  คนยังไม่รู้วิธีการติดตั้งที่ถูกต้องนัก  ทำให้โปรแกรมไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมอย่างถูกวิธีไม่ได้มีวิธีการที่ยุ่งยากอะไรเพียงแค่ลำดับความสำคัญของโปรแกรมให้ถูกก็พอ ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสนั้น  ควรทำหลังจากที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเรียบร้อยแล้ว  ซึ่งในขณะนั้นเป็นช่วงที่ระบบมีความสะอาดมากที่สุด  และทำการอัพเดตให้โปรแกรมป้องกันไวรัสมีฐานะฐานข้อมูลของไวรัสล่าสุดจนถึงวันที่ติดตั้งโปรแกรม จากนั้นก็ทำการติดตั้งโปรแกรมต่าง ๆ  ลงไป  เพื่อเป็นการเช็กว่าโปรแกรมเหล่านั้นมีไฟล์ไวรัสแฝงมาหรือไม่  และขั้นตอนสุดท้ายค่อยก็ทำการย้ายไฟล์ข้อมูลกลับเข้ามาเก็บไว้ในเครื่อง อย่างไรก็ตามบางคนอาจจะติดตั้งโปรแกรมต่าง ๆ  ลงไปก่อนก็ได้ไม่ว่ากัน  ถ้ามั่นใจว่าโปรแกรมที่ใช้อยู่มาจากแหล่งที่เชื่อถือได้  แล้วจึงติดตั้งโปรแกรมติดตั้งไวรัสในขั้นตอนต่อมา  และทำการอัพเดตโปรแกรมป้องกันไวรัสในทันสมัย  ก่อนที่จะนำข้อมูลเข้ามาเก็บเป็นขั้นตอนสุดท้าย  เพราะโอกาสที่ไวรัสจะแฝงเข้ามากับข้อมูลที่คุณมีอยู่  มีความเป็นไปได้สูง  กว่าไวรัสที่แฝงมากับโปรแกรม

4. อัพเดตฐานข้อมูลไวรัส (Definition) อยู่เสมอ

การอัพเดตฐานข้อมูลไวรัสเป็นสิ่งที่ผู้คนมักจะหลงลืมอยู่เป็นประจำ หลาย ๆ  คนยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนักเกี่ยวกับโปรแกรมป้องกันไวรัสว่าเมื่อติดตั้งโปรแกรมไปแล้วจะสามารถป้องกันไวรัสได้ตลอดไป  นั้นถือว่าเป็นความเข้าใจที่ผิด  โปรแกรมป้องกันไวรัสมีหน้าที่ในการป้องกันไวรัส  แต่ผู้พัฒนาไวรัสเองก็มีการพัมนารูปแบบของไวรัสใหม่ ๆ  ออกมาให้สามารถทำงานทะลุทะลวงโปรแกรมป้องกันไวรัสที่ไม่มีการอัพเดตฐานข้อมูลได้ ถ้าไม่มั่นใจก็ให้คุณเปิดโปรแกรมป้องกันไวรัสขึ้นมา  แล้วมาหาคำสั่ง Updates  เมื่อเจอก็คลิ๊กเลย  โปรแกรมจะทำการอัพเดตฐานข้อมูลให้คุณควรทำอย่าน้อยวันละครั้งถ้าทำได้  แต่ถ้าทำไม่ได้ทุกครั้งที่ต่อเข้าอินเทอร์เน็ตก็ควรทำการอัพเดตทันที  เพราะหากคุณทิ้งไว้นานเกินไป  การอัพเดตจะใช้เวลานานมาก  และบางครั้งในช่วงที่คุณไม่ได้อัพเดต  คุณอาจจะโดนไวรัสเล่นไปแล้วก็ได้

5. เปลี่ยนเวอร์ชันใหม่ทันทีที่มีโอกาส

โดยทั่วไปโปรแกรมป้องกันไวรัสจะมีอายุการงานประมาณ 1 ปี หลังจากนั้นผู้ผลิตจะออกโปรแกรมป้องกันไวรัสเวอร์ชันใหม่ออกมา บางคนอาจจะคิดว่าเราจะเสียเงินไปซื้อโปรแกรมเวอร์ชันใหม่ทำไม ในเมื่อเวอร์ชันเก่าก็ยังใช้ได้ และยังอัพเดตฐานข้อมูลได้ จริงอยู่ครับที่เมื่อหมดปีคุณยังสามารถใช้งานโปรแกรมเวอร์ชันเก่าได้ แต่โปรแกรมป้องกันไวรัสเวอร์ชันใหม่ที่ออกมาจะมีการพัฒนาระบบการทำงานภายใน เพื่อให้สามารถรับมือกับไวรัสได้ดีขึ้น รวมไปถึงอาจจะมีการเพิ่มฟังก์ชันบองอย่างที่ช่วยให้คุณใช้งานโปรแกรมได้สะดวก ง่าย และปลอดภัยกว่าเดิม เช่น ลดขนาดไฟล์ฐานข้อมูลไวรัสให้มีขนาดเล็ก ทำให้การอัพเดต สามารถทำได้รวดเร็วขึ้น

6. อย่ารับไฟล์แปลกหน้า และติดตามข่าวสารอยู่เสมอ

แม้ว่าคุณจะอัพเดตโปรแกรมป้องกันไวรัสให้ใหม่อยู่เสมอแค่ไหนก็ตาม แต่ความจริงอย่างหนึ่งที่คุณควรรู้คือ ไฟล์ดัพเดตนี้ก็มีขึ้นหลังจากที่เกิดไวรัสขึ้นแล้ว นั่นหมายถึงคุณก็ยังมีโอกาสติดไวรัสได้ตลอดเวลา การป้องกันอีกอย่างหนึ่งที่คุณทำเองได้ก็คือ ไม่พยายามรับไฟล์แปลกๆ เพราะไฟล์เหล่านั้นอาจจะมีไวรัสแฝงมา ในสมัยก่อนไฟล์เหล่านี้อาจจะส่งมาจากคนที่เราไม่รู้จักแต่ไวรัสสมัยใหม่ก็ฉลาดพอที่จะขโมยรายชื่ออีเมล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของคนรู้จักของคุณ ดังนั้นอย่าไว้ใจไฟล์ที่ส่งมา ถ้าไม่มั่นใจจะใช้วิธี MSN หรือโทรไปถามก็ได้ครับว่า เพื่อนหรือเจ้านายของคุณส่งไฟล์นี้มาหรือไม่ และคุณควรติดตามข่าวสารเกี่ยวกับไวรัสใหม่ๆ อยู่เสมอ ซึ่งเว็บไซต์ของผู้ผลิตโปรแกรมป้องกันไวรัสจะมีการอัพเดตข่าวอยู่เสมอๆ

7. ติดไวรัสแล้วอย่ากลัว

ติดไวรัสแล้วทำยังไง ก่อนอื่นอย่ากลัวหรือเพิ่งตื่นตกใจไป ลองเช็คอาการที่เกิดขึ้น แล้วใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ติดไวรัสหาข้อมูลว่า ไวรัสที่เล่นงานคุณชื่อว่าอะไร และมีโปรแกรมแก้ไขไหม (Removal Tools) ถ้ามีก็ดาวน์โหลดมาใช้งาน เพื่อทำการลบไวรัส จากนั้นก็เปิดเครื่องให้อยู่ในระบบ Safe Mode ขั้นตอนต่อไปทำการอัพเดตฐานข้อมูลไวรัสให้ทันสมัยที่สุด แล้วรีบูตเครื่องอีกครั้งตามปกติแล้วทำการสแกนไวรัสในเครื่องอีกครั้ง เพื่อหาไฟล์ไวรัสที่ยังหลงเหลืออยู่แต่ถ้าแก้ไขแล้วยังไม่ดีขึ้นก็ต้องทำใจฟอร์แมตใหม่

 

Credit : http://ict.stc.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=6&Itemid=37

 

ใส่ความเห็น