KM 1/60 การแบ่งปันความรู้ เรื่อง “ชวนกันสร้าง Infographic”

โดย น.ส.ชนกธมน สุขศรี และ น.ส.บุญศิริ  ศรีสารคาม

ในทุกวันนี้ ไม่ว่าเราจะไปที่ไหนก็มักจะได้ยินคำว่า Infographic  เป็นเรื่องที่ฮอตติดกระแสอยู่บน Social Network เป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาใช้ในการทำงาน ด้านการจัดการความรู้ เพื่อการผลิตสื่อและเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลได้ในเวลารวดเร็วและมีคนเป็นจำนวนมากเข้าถึงได้ง่าย

การแบ่งปันความรู้ เรื่อง “ชวนกันสร้าง Infographic” ในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือระหว่าง กสส. และ กจค. ซึ่งได้ส่งบุคลากรเข้ารับการอบรม และนำความรู้ที่ได้มาแบ่งปันในรูปแบบของการถ่ายทอดเชิงปฏิบัติ โดยใช้โปรแกรม Inkscape  ขั้นพื้นฐานในการสร้างสรรค์งาน Infographic มีบุคลากรภายใน ศคร. เข้าร่วมทั้งสิ้น 19 คน(ดังรายชื่อแนบท้าย) ซึ่งเป็นผู้ที่ประสงค์จะทำความรู้จัก Infographic ต้องการใช้งานโปรแกรม Inkscape และบางคนก็ต้องการความรู้เพิ่มเติมเพื่อการประสานงานด้านกราฟิกกับนักออกแบบ การแบ่งปันความรู้ใช้ระยะเวลา 1 วัน โดยมีหัวข้อในการแบ่งปันความรู้ ดังนี้

–          แนะนำหลักการ ที่มา ชนิด ประเภทของ Infographic 1 ชม.

–          เทคนิคและขั้นตอนการผลิตสื่อ Infographic พร้อมยกตัวอย่าง 1 ชม.

–          แบ่งกลุ่มปฏิบัติหัวข้อ “รู้จักงานของกอง” โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม งาน กสส. และ กจค.

–          การใช้งานโปรแกรม Inkscape เป็นโปรแกรมที่เปิดเผย (Open Source) ให้ใช้งานได้ฟรี

–          แนะนำการเลือกใช้รูปภาพ ไอคอน pictogram ต่างๆ ในการทำ Infographic

–          Workshop สร้างสรรค์สื่อ Infographic ตามหัวข้อที่ตกลงโดยขอให้มีชิ้นงานส่ง

Infographic คืออะไร

อินโฟกราฟิกส์ (Infographic)  มาจากคำว่า Information + graphic เป็นการนำข้อมูลหรือความรู้มาสรุปเป็นสารสนเทศ  เป็นการนำข้อมูล ตัวอักษร ตัวเลข  ที่มีจำนวนมากผลิตให้เป็นภาพที่ง่ายต่อการจดจำและเข้าใจง่าย เหมาะกับการนำงานวิจัยมาสรุปเป็นภาพ โดยทำเรื่องที่ยากให้ผู้คนสามารถเข้าใจได้ง่ายและน่าสนใจ เป็นการจัดการความรู้อีกรูปแบบหนึ่ง

การสร้างสื่อ Infographic เป็นการกลั่นกรองข้อมูลให้เหลือแต่สาระที่สำคัญๆ แล้วนำมาบรรยายด้วยภาพ การกลั่นกรองเนื้อหาสาระใช้กฎ 5W (Who  What  Where  When  Why) และ 2H (How  How much) ในการตั้งคำถามเพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของเนื้อเรื่อง แล้วเลือกประเภท/รูปแบบการนำเสนอ Infographic

แนวคิดหลักการ ในการสร้างงาน Infographic ได้มีผู้ถ่ายทอดไปแล้วซึ่งท่านสามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ บทความความรู้ KM ภายใน (KM intra) ซึ่งเขียนโดย นายศิระ ศิลานนท์ (ร.ผอ.กบส.) และ น.ส.กนกพร ปรีเปรม

 

การใช้โปรแกรม Inkscape

การแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ในครั้งนี้จึงเน้นการสร้างผลงานโดยใช้โปรแกรม Inkscape  ขั้นพื้นฐานในการสร้างสรรค์งาน Infographic ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เปิดเผย (Open Source) เป็นโปรแกรมที่ให้ใช้ฟรี มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นโปรแกรมประเภทสร้างงานกราฟิก ไฟล์งานที่ถูกสร้างจะเป็น SVG (Scalable Vector Graphics) เป็นไฟล์รูปภาพที่แสดงผลบนเว็บแล้วคุณภาพไม่เปลี่ยน ไฟล์มีขนาดเล็ก  สามารถย่อขยายได้โดยคุณภาพภาพไม่เปลี่ยน แต่มีข้อเสียคือ ยังไม่รองรับบาง Web Browser

ในการสร้างสื่อ Infographic ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของการวางแนว (แนวตั้ง / แนวนอน) หรือ ขนาดของกระดาษ  ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่เราจะนำสื่อไปเผยแพร่  เริ่มต้นจากกำหนดกระดาษ  แบ่งเป็นส่วนหัวกระดาษและ ท้ายกระดาษ  ส่วนหัวจะเป็น ชื่อเรื่อง และส่วนท้ายจะเป็นแหล่งอ้างอิง แหล่งผลิตสื่อ ส่วนกลางจะเป็นพื้นที่ออกแบบงานตามลักษณะเนื้อหา

การใช้รูปภาพประกอบโดยค้นหาด้วย Google ตั้งค่าการค้นหาขั้นสูง เลือกสิทธิ์ในการใช้งาน

แบ่ง 2 กลุ่ม สร้างสรรค์สื่อแนะนำกอง กสส. และ กจค.

การแบ่งปันความรู้ที่เป็นกันเอง  สนุกคิดสนุกสร้างสื่อ

ผลงานออกแบบของตัวแทนกลุ่ม กสส. และ กจค.

จากการจัดกิจกรรมแบ่งปันความรู้ จากผู้เข้ารับการอบรม สู่ เพื่อนร่วมงานภายใน ศูนย์ความรู้เป็นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ทั้งผู้ให้และผู้รับ และผลจากการกิจกรรมในครั้งนี้ได้จัดทำแบบสำรวจความพึงพอใจผู้เข้าร่วมกิจกรรม สรุปผลรายงานความพึงพอใจโดยรวม ระดับดีและดีมากร้อยละ 92.8 จากความคิดเห็นทั้งสิ้น 18 คน

 

KM 1/60 การแบ่งปันความรู้ เรื่อง “ชวนกันสร้าง Infographicโดย น.ส.ชนกธมน สุขศรี และ น.ส.บุญศิริ  ศรีสารคาม 

ในทุกวันนี้ ไม่ว่าเราจะไปที่ไหนก็มักจะได้ยินคำว่า Infographic  เป็นเรื่องที่ฮอตติดกระแสอยู่บน Social Network เป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาใช้ในการทำงาน ด้านการจัดการความรู้ เพื่อการผลิตสื่อและเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลได้ในเวลารวดเร็วและมีคนเป็นจำนวนมากเข้าถึงได้ง่าย

 

การแบ่งปันความรู้ เรื่อง “ชวนกันสร้าง Infographic” ในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือระหว่าง กสส. และ กจค. ซึ่งได้ส่งบุคลากรเข้ารับการอบรม และนำความรู้ที่ได้มาแบ่งปันในรูปแบบของการถ่ายทอดเชิงปฏิบัติ โดยใช้โปรแกรม Inkscape  ขั้นพื้นฐานในการสร้างสรรค์งาน Infographic มีบุคลากรภายใน ศคร. เข้าร่วมทั้งสิ้น 19 คน(ดังรายชื่อแนบท้าย) ซึ่งเป็นผู้ที่ประสงค์จะทำความรู้จัก Infographic ต้องการใช้งานโปรแกรม Inkscape และบางคนก็ต้องการความรู้เพิ่มเติมเพื่อการประสานงานด้านกราฟิกกับนักออกแบบ การแบ่งปันความรู้ใช้ระยะเวลา 1 วัน โดยมีหัวข้อในการแบ่งปันความรู้ ดังนี้

–          แนะนำหลักการ ที่มา ชนิด ประเภทของ Infographic 1 ชม.

–          เทคนิคและขั้นตอนการผลิตสื่อ Infographic พร้อมยกตัวอย่าง 1 ชม.

–          แบ่งกลุ่มปฏิบัติหัวข้อ “รู้จักงานของกอง” โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม งาน กสส. และ กจค.

–          การใช้งานโปรแกรม Inkscape เป็นโปรแกรมที่เปิดเผย (Open Source) ให้ใช้งานได้ฟรี

–          แนะนำการเลือกใช้รูปภาพ ไอคอน pictogram ต่างๆ ในการทำ Infographic

–          Workshop สร้างสรรค์สื่อ Infographic ตามหัวข้อที่ตกลงโดยขอให้มีชิ้นงานส่ง

Infographic คืออะไร

อินโฟกราฟิกส์ (Infographic)  มาจากคำว่า Information + graphic เป็นการนำข้อมูลหรือความรู้มาสรุปเป็นสารสนเทศ  เป็นการนำข้อมูล ตัวอักษร ตัวเลข  ที่มีจำนวนมากผลิตให้เป็นภาพที่ง่ายต่อการจดจำและเข้าใจง่าย เหมาะกับการนำงานวิจัยมาสรุปเป็นภาพ โดยทำเรื่องที่ยากให้ผู้คนสามารถเข้าใจได้ง่ายและน่าสนใจ เป็นการจัดการความรู้อีกรูปแบบหนึ่ง

การสร้างสื่อ Infographic เป็นการกลั่นกรองข้อมูลให้เหลือแต่สาระที่สำคัญๆ แล้วนำมาบรรยายด้วยภาพ การกลั่นกรองเนื้อหาสาระใช้กฎ 5W (Who  What  Where  When  Why) และ 2H (How  How much) ในการตั้งคำถามเพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของเนื้อเรื่อง แล้วเลือกประเภท/รูปแบบการนำเสนอ Infographic

 

เครดิตภาพ : www.marketingoops.com

แนวคิดหลักการ ในการสร้างงาน Infographic ได้มีผู้ถ่ายทอดไปแล้วซึ่งท่านสามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ บทความความรู้ KM ภายใน (KM intra) ซึ่งเขียนโดย นายศิระ ศิลานนท์ (ร.ผอ.กบส.) และ น.ส.กนกพร ปรีเปรม

 

การใช้โปรแกรม Inkscape

การแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ในครั้งนี้จึงเน้นการสร้างผลงานโดยใช้โปรแกรม Inkscape  ขั้นพื้นฐานในการสร้างสรรค์งาน Infographic ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เปิดเผย (Open Source) เป็นโปรแกรมที่ให้ใช้ฟรี มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นโปรแกรมประเภทสร้างงานกราฟิก ไฟล์งานที่ถูกสร้างจะเป็น SVG (Scalable Vector Graphics) เป็นไฟล์รูปภาพที่แสดงผลบนเว็บแล้วคุณภาพไม่เปลี่ยน ไฟล์มีขนาดเล็ก  สามารถย่อขยายได้โดยคุณภาพภาพไม่เปลี่ยน แต่มีข้อเสียคือ ยังไม่รองรับบาง Web Browser

 

 

 

ในการสร้างสื่อ Infographic ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของการวางแนว (แนวตั้ง / แนวนอน) หรือ ขนาดของกระดาษ  ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่เราจะนำสื่อไปเผยแพร่  เริ่มต้นจากกำหนดกระดาษ  แบ่งเป็นส่วนหัวกระดาษและ ท้ายกระดาษ  ส่วนหัวจะเป็น ชื่อเรื่อง และส่วนท้ายจะเป็นแหล่งอ้างอิง แหล่งผลิตสื่อ ส่วนกลางจะเป็นพื้นที่ออกแบบงานตามลักษณะเนื้อหา

 

ส่วนท้ายกระดาษ

 

 

 

การใช้รูปภาพประกอบโดยค้นหาด้วย Google ตั้งค่าการค้นหาขั้นสูง เลือกสิทธิ์ในการใช้งาน

 

 

 

 

 

 

จากการจัดกิจกรรมแบ่งปันความรู้ จากผู้เข้ารับการอบรม สู่ เพื่อนร่วมงานภายใน ศูนย์ความรู้เป็นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ทั้งผู้ให้และผู้รับ และผลจากการกิจกรรมในครั้งนี้ได้จัดทำแบบสำรวจความพึงพอใจผู้เข้าร่วมกิจกรรม สรุปผลรายงานความพึงพอใจโดยรวม ระดับดีและดีมากร้อยละ 92.8 จากความคิดเห็นทั้งสิ้น 18 คน

 

ใส่ความเห็น