ศิริสุข ศรีสุข
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
35 หมู่ที่ 3 เทคโนธานี ตำบลคลองหลวง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
ทุกโอกาสที่ผ่านเข้ามา ถือเป็นกำไรชีวิตที่ไม่สามารถหาอ่านได้ในหนังสือเล่มใดครั้งนี้ก็เช่นกัน ขอบคุณโอกาสที่ผ่านเข้ามา ทำให้ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง เทคโนโลยีดิจิทัลกับยุทธศาสตร์ชาติปี ค.ศ.2020 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2559 ณ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน โดยมีวิทยากร คือ รองศาสตราจารย์ ดร.ยืน ภู่วรวรรณ ที่ปรึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นวิทยากร
ผู้เขียนขออนุญาตนำการบรรยายพิเศษดังกล่าว มาเล่าสู่กันฟัง เฉพาะในส่วนของ “ชีวิตยุคดิจิทัลกับ Thailand 4.0” เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับท่านผู้อ่าน ดังนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ยืน ภู่วรวรรณ ได้วิเคราะห์และเสนอมุมมอง ดังนี้
ท่านวิทยากรได้เสนอมุมมองเกี่ยวกับชีวิตยุคดิจิทัลกับ Thailand 4.0 ดังนี้
1) สังคมใช้ปัญญา สังคม และตัวเลข
2) โลกไร้พรมแดน เชื่อมโยงข่าวสาร ทั่วถึงกัน (world wide web) สื่อสาร สะดวก รวดเร็ว
3) เปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน ใช้เทคโนโลยี
4) มีความสะดวก สบาย
5) Visible สืบค้นข้อมูลได้ทั่วโลก
6) ความเท่าเทียมในสังคมเมือง และชนบทดีขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีนวัตกรรมก่อกวน (disruptive innovation) ใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งมีวิธีการใช้ที่แตกต่างจากเดิม มีการสร้างตลาดใหม่ เปลี่ยนแปลงการตลาด หรือทำลายรูปแบบเดิมๆ และสินค้ามีรูปแบบที่ง่ายกว่าเดิม ผู้บริโภคใช้จ่ายง่ายกว่า มีของใช้ประกอบได้มากกว่า และปรับให้เหมาะสม รวมทั้งก้าวหน้ากว่าเดิม
ท่านวิทยากรได้เสนอเพิ่มเติมว่า การเปลี่ยนผ่านไปสู่ Thailand 4.0 ต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐาน ดังนี้
1) โครงสร้างทางปัญญา พัฒนาคน
2) โครงสร้างทางทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ และแร่ธาตุ
3) โครงสร้างการเชื่อมโยง สื่อสาร คมนาคม
4) โครงสร้างพื้นฐานทางสังคม
5) โครงสร้างฐานความรู้ ข้อมูล การสื่อสาร
องค์กรที่ใช้ดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงสู่ Thailand 4.0 ท่านวิทยากรได้วิเคราะห์ ดังนี้
1) ทำงานร่วมกันในไซเบอร์ (collaborative)
2) อำนาจอยู่ที่ปัญญา
3) การรวมแบบไซเบอร์
4) ทำงานแบบเชิงรุก (proactive)
5) วางแผนแบบสามารถปรับได้
6) เน้นภูมิปัญญาของคนมากขึ้น
จากบทความข้างต้น จะเห็นได้ว่า ชีวิตในอนาคตข้างหน้า จะต้องเป็นชีวิตที่เป็น proactive มากขึ้น และ
การสื่อสารจะรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย เพราะทั่วโลกสามารถเชื่อมต่อกัน เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัสกับเทคโนโลยีดิจิทัล โลกของไซเบอร์จะเข้ามาแฝงกับชีวิตประจำวันอย่างไม่รู้ตัว ดังนั้น อยู่ที่ท่านผู้อ่านจะเลือกว่า จะให้โลกของไซเบอร์เข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตมากเพียงไร สุดแต่ใจของท่านกำหนดเอง
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
ภู่วรวรรณ, ยืน. 2559. สไลด์นำเสนอการบรรยายพิเศษ เรื่อง เทคโนโลยีดิจิทัลกับยุทธศาสตร์ชาติปี 20 เมื่อวันที่ 2
พฤศจิกายน2559 ณ สำนักบริการคอมพิวเตอร์, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน.
[Online]. Available at : http://www.bangkokbanksme.com/article/5992 [accessed 28 November 2016].
[Online]. Available at : https://www.youtube.com/watch?v=OEfY3rQZpNo [accessed 28 November 2016].
[Online]. Available at : http://infofed.com/portfolio-item/thailnad-4-0/ [accessed 28 November 2016].
[Online]. Available at : https://www.blognone.com/node/86108 [accessed 28 November 2016].