CoPs ฝึกอบรม เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

เรียบเรียง โดย นพวรรณ หาแก้ว

กองจัดการความรู้

 

ชุมชนนักปฏิบัติ : CoPs เป็นหนึ่งในกิจกรรมของการแลกเปลี่ยนเพื่อให้เกิดการปรับปรุงและแก้ไขปัญหา ซึ่งสอดคล้องตามวัตถุประสงค์คุณภาพเรื่องการสร้างความพึงพอใจของลูกค้า/ผู้ใช้บริการ เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)  ซึ่งเป็นข้อกำหนดตามระบบบริหารคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9001

การฝึกอบรมเป็นงานที่ต้องมีการพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับสภาพความต้องการที่เปลี่ยนแปลง  หน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้บริการฝึกอบรมของ วว. ได้ระดมความคิดเห็นร่วมกันในการวางแผนและปรับปรุงงานการให้บริการ โดยมีประเด็นของการแลกเปลี่ยนและสรุปแนวทางของการพัฒนางานด้านฝึกอบรม ดังนี้

ประเด็น

แนวทางการดำเนินงาน

นโยบายการดำเนินงานจัดฝึกอบรม เพื่อหารายได้นอกงบประมาณ ประจำปี 2560

 

นโยบายการดำเนินงานโดยภาพรวม มีดังนี้

–  เน้นการจัดสัมมนา/ประชุมวิชาการที่เป็นหลักสูตรใหญ่ๆ ให้มากขึ้น และเป็นหลักสูตรที่มี Impact ต่อลูกค้า/ผู้ใช้บริการ

–  ขยายการอบรมไปสู่หลักสูตร In-house Training ให้มากขึ้น

–  ดำเนินงานในเชิงรุกเพื่อปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ปัจจุบัน และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ วว.

–  ปรับการจัดทำแผนฝึกอบรมจากรอบไตรมาสเป็นแผนทั้งปี เพื่อให้หน่วยงานที่เป็นกลุ่มเป้าหมายสามารถวางแผนการจัดส่งบุคลากรเข้าร่วมอบรมได้ในระยะยาว

–  การหาแนวทางความร่วมมือกับหน่วยงานภายในและภายนอก วว. เพื่อสร้างหลักสูตรที่ตอบโจทย์ต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้แท้จริง

–  การเพิ่มช่องทางการสื่อสารกับลูกค้าผ่านระบบดิจิทัลให้มากขึ้น รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องของการจัดส่งเอกสาร

ผลการดำเนินงานหลักสูตรฝึกอบรมในปี 2559 (ด้านวิชาชีพ เผยแพร่ผลงานวิจัย พัฒนา, ด้านการบริหารจัดการ การพัฒนาสมรรถนะบุคลากร)

 

หลักสูตรที่ดำเนินการจัดในปีงบประมาณ 2559 ประกอบด้วยหลักสูตรด้านวิชาชีพเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย พัฒนาของ วว. และหลักสูตรด้านการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชน  โดยรอบปีที่ผ่านมาดำเนินการจัดหลักสูตรได้ในสัดส่วนที่ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับแผนงานที่วางไว้ เนื่องจากลูกค้าที่สมัครเข้าอบรมไม่เป็นไปตามเป้าหมาย แต่  กจค. สามารถทำรายได้ตามเป้าหมายเนื่องจากมีหลักสูตร In-house Training ที่หน่วยงานภายนอกว่าจ้างเข้าในช่วงปลายปี ที่สามารถเพิ่มรายได้ในช่วงท้ายไตรมาสได้ตามตัวชี้วัด
การพัฒนาปรับปรุงลงทะเบียนออนไลน์

 

การพัฒนาระบบลงทะเบียนออนไลน์เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานของลูกค้า โดยได้ประสานงานกับนักวิชาการ วว. (ดร.สุเทพ จอยเอกา) ที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดทำโปรแกรมการลงทะเบียนออนไลน์ในรูปแบบใหม่เพื่อเป็นทางการเลือกอีกช่องทางหนึ่งสำหรับการติดต่อกับลูกค้า/ผู้ใช้บริการ
แนวทางความต้องการฝึกอบรม (Training Needs) ปีงบประมาณ 2560 การรวบรวมความต้องการฝึกอบรม (Training Needs) จากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะนำมาเป็นข้อมูลในการวางแผนหลักสูตรฝึกอบรม โดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในประเด็น ดังนี้

– การสอบถามความต้องการฝึกอบรมเพื่อให้สามารถวางแผนและจัดหลักสูตรได้ทันในช่วงต้นปีงบประมาณ ควรดำเนินการจัดส่งในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีงบประมาณ 2559 เพื่อจะได้รวบรวมข้อมูลได้ทันต่อการวางแผนและจัดหลักสูตรฝึกอบรมในไตรมาสแรกของปีงบประมาณใหม่ต่อไป

– ข้อมูลในแบบสอบถาม เห็นควรมีการปรับเปลี่ยนข้อคำถาม/ประเด็นให้สอดคล้องเพื่อให้ได้ข้อมูลตรงต่อความต้องการ โดยไปสืบค้นแบบสอบถามจากหน่วยงานอื่นๆ มาประยุกต์ให้เหมาะสม และปรับแก้แบบฟอร์มใหม่ตามระบบ ISO 9001

การพัฒนาหลักสูตร (Public Training, In-house Training, โครงการความร่วมมือทั้งภายใน/ภายนอก วว.)

 

 

จากการดำเนินการที่ผ่านมา ควรมีการปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดหลักสูตรให้เป็นไปตามเป้าหมาย ดังนี้

– หลักสูตรด้านวิชาชีพ เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย พัฒนา วว.  กำหนดเป็นหลักสูตร Public Training และ     In-house Training  มอบหมายผู้รับผิดชอบหลักสูตรประสานกับวิทยากร วว. ที่จะร่วมออกแบบพัฒนาหลักสูตรและประชาสัมพันธ์สู่กลุ่มเป้าหมายต่อไป พร้อมพิจารณาหลักสูตรที่จะสามารถบูรณาการร่วมกัน เพื่อตอบโจทย์ต่อกลุ่มเป้าหมายที่จะสามารถนำความรู้ไปต่อยอดในเชิงธุรกิจได้

– หลักสูตรด้านการบริหารจัดการ การพัฒนาสมรรถนะบุคลากร กำหนดเป็นหลักสูตร In-house Training  ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางสื่อสารต่างๆ ไปยังหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หากมีผู้ว่าจ้างในหลักสูตรใด วว. จะดำเนินการประสานและจัดหาวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อไปจัดอบรมตามข้อตกลงในเนื้อหาเฉพาะแต่ละหลักสูตร

– โครงการความร่วมมือทั้งภายใน/ภายนอก วว.  ตามที่ประชุมคณะทำงาน ISO 29990 : 2010  ศพว. ได้มีการหยิบยกประเด็นการร่วมมือในการจัดฝึกอบรมร่วมกัน โดย กจค. และแบ่งรายได้ร่วมกันตามสัดส่วน นั้น ที่ประชุมเห็นชอบในเบื้องต้นหากมีความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าวจะได้หารืออย่างเป็นทางการอีกครั้ง

– สำหรับโครงการความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก วว. เพื่อให้สอดคล้องต่อแนวคิดการดำเนินงานเชิงรุกและพัฒนาต่อยอดหลักสูตรให้ตรงต่อความต้องการของลูกค้าและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน ที่ประชุมหารือเบื้องต้นว่า อาจจะต้องมีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีศักยภาพในการจัดอบรมร่วมกัน เช่น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) เพื่อพัฒนาหลักสูตรทางด้านการวางแผนธุรกิจเชิงนวัตกรรม เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ สอดรับตามแนวทางการดำเนินงานของ วว. ในปัจจุบันอีกแนวทางหนึ่ง

ช่องทางการประชาสัมพันธ์หลักสูตรสู่กลุ่มเป้าหมาย

 

 

ช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่ดำเนินการในปัจจุบันได้แก่

– การส่งหนังสือเชิญเป็นทางการ ยังคงไว้เหมือนเดิม แต่อาจลดจำนวนการจัดส่งให้น้อยลง

– E-mail

– ระบบลงทะเบียนออนไลน์

– Facebook Fanpage (TISTR, KMD Training)

เพื่อให้การสื่อสารข้อมูลไปสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรเพิ่มช่องทางการติดต่อให้มากขึ้น ตอบโจทย์ต่อวิถีชีวิตที่นำระบบดิจิทัลมาเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มประสิทธิภาพ   ที่ประชุมแนะนำให้เพิ่มช่องทาง Line เนื่องจากเป็นช่องทางที่สื่อสารสะดวก รวดเร็ว และปัจจุบันคนส่วนใหญ่จะนิยมใช้ Line โดยตรงในการสอบถามหรือรับข้อมูล

ใส่ความเห็น