สรุปข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ดร.ธเนศ อุทิศธรรม
อดีตผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีพลังงานและนักวิจัยอาวุโส
Gasifier เป็นการนำเชื้อเพลิงแข็งประเภทต่างๆ เช่น Biomass หรือถ่านหิน มาทำให้อยู่ในสถานะแก๊สที่สามารถนำมาเผาไหม้ประเภทต่างๆ ได้โดยง่าย รวมทั้งยังสามารถนำไปใช้กับเครื่องยนต์สันดาปต้นกำลังที่ใช้น้ำมันเบนซินและ Diesel (combine Energy) ได้
เมื่อ 10 ปีที่แล้ว โครงการ Gasifier เป็นโครงการใหม่ที่ยังไม่มีใครทำ จึงได้ริเริ่มทำโดยเริ่มจากการหาแหล่งข้อมูล ซึ่งเป็นการหาข้อมูลที่ค่อนข้างยาก จึงใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งข้อมูล เนื่องจากการใช้ชีวมวลที่เป็น Solid เมื่อนำมาเผาจะมี Efficiency ต่ำกว่าการใช้ gas มาก ดังนั้นในการเริ่มทำการศึกษา gasification นั้น เริ่มต้นโดยการศึกษาหาข้อมูลเตาปฏิกรณ์ (Reactor) ของต่างประเทศ เช่น ประเทศอเมริกา พบว่า Reactor ของประเทศอเมริกาส่วนใหญ่มีทั้งขนาดใหญ่มากและขนาดเล็กมาก ซึ่งไม่เหมาะต่อการนำมาใช้เป็นแนวทางในการออกแบบก่อสร้างของ วว. ต่อมาได้ศึกษา Reactor ของอินเดีย พบว่า มีขนาดใกล้เคียงกับความต้องการที่จะนำมาเป็นต้นแบบในการ Modify ก่อสร้าง เพื่อดำเนินโครงการ Gasifier เป็นโครงการแรก โดยมี ดร.วีรชัย สุนทรรังสรรค์ เป็นหัวหน้าโครงการ
ต่อมาได้มีโอกาสในการเข้าร่วมประชุมกับญี่ปุ่น ในลักษณะร่วมสังเกตการณ์ (Observer) และได้ขอความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นผ่านกระทรวงอุตสาหกรรม จัดทำโครงการ green partnership ที่เป็นโครงการ 3 ปี หลังจากนั้นก็มีโครงการ NEDO ซึ่งเป็นโครงการที่ให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ โครงการ JICA เป็นโครงการช่วยเหลือในลักษณะกึ่ง Commercial เข้ามา ซึ่งปีแรกเป็นการขอผู้เชี่ยวชาญมาคอยให้คำปรึกษาแนะนำ ในลักษณะการเสริมสมรรถนะ (Capacity building) โดยใช้โครงการ Gasifier เดิมเป็นต้นแบบในการทดลอง run และเก็บข้อมูล ซึ่งผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นได้เข้ามาให้คำปรึกษาแนะนำในช่วงปลายโครงการ 1 จากนั้น จึงได้ขอโครงการต่อเนื่องในปีที่ 2 ซึ่งได้เครื่องจักรมาหลายชิ้น และได้ไปศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วย ดร.วีรชัย สุนทรรังสรรค์ ดร.ธเนศ อุทิศธรรม และคุณโสภณ พรหมสุวรรณ ต่อมาก็ได้ทำโครงการจากญี่ปุ่น 2 เรื่อง คือ Biodiesel
จากนั้นผู้บริหารระดับสูงได้ให้เข้าไปพบผู้จัดการบริษัท เพื่อนำเสนอจุดเด่นและจุดแข็งในเรื่อง Gasifier โดยมีทีมทำงานด้าน Hardware คือ ดร.วีรชัย สุนทรรังสรรค์ และคุณโสภณ พรหมสุวรรณ ส่วนด้าน Soft wear คือ ดร.ยุทธนา ฐานมงคล และ ดร.รุจิรา จิตรหวัง เป็นผู้ดูแล
เนื่องจากในประเทศไทยมีหน่วยงานที่ทำ gasifier มากมายทั้งมหาวิทยาลัยต่างๆ ประมาณ 30-40 แห่ง รวมทั้ง วว. ด้วย แต่ที่ผ่านมายังไม่มีหน่วยงานใดประสบความสำเร็จ เพราะส่วนใหญ่ทำ Gasifier ระบบ Down draft นอกจากนี้จากการออกไปสำรวจ Gasifier ทั่วประเทศ ยังพบปัญหาและอุปสรรคมากมาย แต่ วว. มีความสามารถพิเศษ คือ การศึกษาระบบ Up draft และระบบลูกผสม โดยมีนักศึกษาภาคีบัณฑิตเป็นผู้ร่วมทำการวิจัย ศึกษาและทดลอง จนได้ข้อมูลเป็นที่มั่นใจว่าความรู้ระบบ Up draft gasifier จะเป็นจุดแข็งให้กับ วว. ได้