จากการที่มีการประกาศให้ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) ปี 2558 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 ส.ค. 2558 นั้น มีผลให้นักท่องโซเชียลมีเดียทั้งหลายที่ชอบโพสขอบแชร์ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ควรที่จะต้องทำความเข้าใจ พ.ร.บ.ฉบับนี้กันให้ดีขึ้น เพื่อจะได้มีความเข้าใจและลดความเสี่ยงที่จะนำตนเองไปสู่การกระทำผิดด้านการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งการแชร์โดยไม่ให้เครดิตแก่เจ้าของผลงานมีโทษปรับ 1 หมื่น – 1 แสนบาท แต่หากการกระทำเพื่อการค้าจะมีโทษสูงถึง 5 หมื่น – 4 แสนบาทเลยทีเดียวหรืออาจทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงริบสิ่งของต่างๆอันละเมิดลิขสิทธิ์ บางกรณีอาจมีการสั่งทำลายสิ่งของอันละเมิดลิขสิทธิ์นั้นโดยศาลออกคำสั่ง ทั้งนี้ผู้ละเมิดจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการทำลายเองทั้งหมด
ข้อควรระวังของ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) ปี 2558 สรุปคร่าวๆ ได้ดังนี้
- การนำซอฟแวร์ต่างๆ ไปแคร็ก หรือแฮ็ก ซอฟแวร์ที่มีลิขสิทธิ์ต่างๆ
- หากพบเว็บที่ออนไลน์มีการละเมิดลิขสิทธิ์ ให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถร้องขอต่ศาลเพื่อปิดเว็บนั้นๆ หรือให้ลบข้อมูลเว็บนั้นได้
- การนำภาพของผู้อื่นมาใช้งาน ห้ามลบ แก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูล ที่แสดงสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ
- การแชร์คลิป ต้องมีการระบุแหล่งที่มา
- นักแสดงสามารถระบุชื่อตนเองในผลงานแสดงของตนได้ และห้ามมิให้บุคคลใดกระทำต่อการแสดงของตนจนทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือเกียรติคุณ
- การทำซ้ำชัวคราว เช่น ดูหนัง ฟังเพลง สามารถกระทำได้
- การส่งภาพสวัสดีในตอนเช้า เช่น ภาพดอกไม้ ทิวทัศน์ ทางไลน์ สามารถทำได้ หากเป็นการส่งแบบส่วนตัว ไม่มีการดัดแปลง ไม่ใช้เพื่อการค้า และต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเจ้าของ แต่ภาพดังกล่าวจะถือเป็นสิทธิ์ของเจ้าของภาพ หากเจ้าของทำการฟ้องร้องดำเนินคดีให้ถือว่าผู้ที่นำไปแชร์มีความผิด
Download : พระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๒)
อ้างอิง
สภาปฏิรูปแห่งชาติ.”พระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๒)”.www.parliament.go.th.2558
กูรูคอมพิวเอตร์.”พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2)2558″.www.กูรูคอมพิวเตอร์.com.2558