การให้ความรู้การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือที่เรียกกันเป็นภาษาสามัญว่า ตรา คือ สิ่งที่เป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติและบำเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการ ประเทศชาติ ศาสนา ประชาชน หรือส่วนพระองค์ นอกจากนั้น ยังหมายความรวมถึงเหรียญที่ระลึกที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างในโอกาสสำคัญต่างๆ เพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ๑.      กำเนิดเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย ชนชาติไทยมีเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและบำเหน็จความชอบมาเป็นเวลานาน โดยมีรูปแบบเป็นเครื่องใช้ส่วนตัวหรือเครื่องประดับตัว ไม่ได้ใช้ประดับกับเสื้อตามรูปแบบที่ปรากฏเป็นสากลในปัจจุบัน ๒.      ประเภทเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท ดังนี้ ประเภทที่ ๑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ประมุขของรัฐ มีชนิดเดียว คือ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ (ร.ม.ภ.)

ประเภทที่ ๒ เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับบำเหน็จความชอบในราชการแผ่นดิน มี ๘ ชนิด คือ

๒.๑ เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.)

๒.๒ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตน์ราชวราภรณ์ (น.ร.)

๒.๓ เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า

๒.๔ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี

๒.๕ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก

ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) ชั้นที่ ๑ ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) ชั้นที่ ๒ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.) ชั้นที่ ๓ ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.) ชั้นที่ ๔ จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.) ชั้นที่ ๕ เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.) ชั้นที่ ๖ เหรียญทอง (ร.ท.ช.) ชั้นที่ ๗ เหรียญเงิน (ร.ง.ช.)

๒.๖ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย

ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) ชั้นที่ ๑ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) ชั้นที่ ๒ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.) ชั้นที่ ๓ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.) ชั้นที่ ๔ จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.) ชั้นที่ ๕ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.) ชั้นที่ ๖ เหรียญทอง (ร.ท.ม.) ชั้นที่ ๗ เหรียญเงิน (ร.ง.ม.)

๒.๗ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์๒.๘ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษประเภทที่ ๓ เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในพระองค์พระมหากษัตริย์

๓.๑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตราวชิรมาลา๓.๒ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตรารัตนวราภรณ์๓.๓ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตราวัลลภาภรณ์

ประเภทที่ ๔ เหรียญราชอิสริยาภรณ์ที่นับเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แบ่งเป็น ๔ ประเภท ในการประดับเหรียญต้องเรียงลำดับตามเกียรติของเหรียญ ดังนี้

๔.๑ เหรียญที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความกล้าหาญ มีอาทิ เหรียญกล้าหาญ เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลีเหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม

๔.๒ เหรียญที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการแผ่นดิน มีอาทิ เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เหรียญจักรพรรดิมาลา เหรียญจักรมาลา เหรียญราชการชายแดน เหรียญลูกเสือสรรเสริญ

๔.๓ เหรียญที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในพระองค์พระมหากษัตริย์ เป็นเหรียญที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแต่ละรัชกาลทรงพระกรุณาให้สร้างสำหรับพระราชทานผู้จงรักภักดีตามพระราชอัธยาศัย ไม่เกี่ยวกับตำแหน่งราชการ มี ๒ ชนิดที่สำคัญ คือเหรียญรัตนาภรณ์และเหรียญราชรุจิ

๔.๔ เหรียญสำหรับพระราชทานเป็นที่ระลึก เป็นเหรียญที่ทรงพระกรุณาให้สร้างในโอกาสสำคัญต่างๆ เพื่อพระราชทานให้บุคคลทั่วไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ประดับได้ตามอัธยาศัยนับตั้งแต่เริ่มสร้างจนถึงปัจจุบันมีจำนวน ๒๖ เหรียญ

๑. เหรียญงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ๒. เหรียญที่ระลึกในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป ๓. เหรียญรัชดาภิเษก

๔. เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร

๑. เหรียญสนองเสรีชน ๒. เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระเทพรัตนราขสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ๓. เหรียญที่ระลึกสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ๔. เหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระชนมายุครบ ๕๐ พรรษา ลำดับเกียรติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยมีลำดับเกียรติลดหลั่นกัน ซึ่งโดยหลักการใหญ่ๆ จะเรียงลำดับประเภท ดังนี้ ๑. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย ๒. เหรียญบำเหน็จกล้าหาญ ๓. เหรียญบำเหน็จในราชการ ๔. เหรียญบำเหน็จในพระองค์ ๕. เหรียญที่ระลึกต่างๆ

เอกสารสำคัญที่เกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

. ราชกิจจานุเบกษา ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญที่นับเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ยกเว้นเหรียญที่พระราชทานเป็นที่ระลึกจะมีประกาศนามลงในราชกิจจานุเบกษา

. ประกาศนียบัตรกำกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญซึ่งนับเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ยกเว้นเหรียญที่พระราชทานเป็นที่ระลึก) ส่วนใหญ่กฎหมายจะกำหนดให้มีประกาศนียบัตรกำกับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ทรงลงพระปรมาภิไธย และประทับพระราชสัญจกร

๓. ทะเบียนฐานันดร ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี โดยสำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จะจัดทำทะเบียนฐานันดรของผู้ได้รับพระราชทานไว้เป็นหลักฐาน

การส่งคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้ได้รับพระราชทานต้องส่งคืนผู้ได้รับพระราชทานต้องส่งคืนชั้นรองเมื่อได้รับพระราชทานชั้นสูงขึ้น และเมื่อวายชนม์ทายาทต้องส่งคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้นๆ  แต่หากส่งคืนไม่ได้ด้วยประการใดๆ ทายาทหรือกองมรดกสามารถส่งใช้เงินทดแทนตามราคาที่ทางราชการกำหนดได้ การแต่งกายประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

๑. การแต่งกายเต็มยศ

๒.      การแต่งกายครึ่งยศ๓.      การแต่งกายเครื่องแบบปกติขาวขั้นตอนการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ๑. จัดส่งเอกสารประกอบการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปยังสำนักเลขาธิการ ค.ร.ม. ก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาไม่น้อยกว่า ๙๐ วัน (ภายในวันที่ ๖ กันยายน ของปี) ๒. กรณีมีบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ระดับชั้น ชั้นยศ สูงขึ้น และมีคุณสมบัติครบตามหลักเกณฑ์ที่จะขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายประจำปี ให้ส่งเอกสารเพิ่มเติมไปยังสำนักเลขาธิการ ค.ร.ม. ก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน (ภายในวันที่ ๖ ตุลาคม ของปี)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ วว. มีสิทธิได้รับ

สรุปโดยรวม ผู้เข้ารับการถ่ายทอดความรู้ในหัวข้อ “การให้ความรู้การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์” ที่กองบริหารบุคคล ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจัดขึ้น สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในงานอบรมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ และเป็นการสนับสนุนยุทธศาสตร์ของ วว. ในข้อ ๔ “การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กร”

ใส่ความเห็น