การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรมงานวิจัย (Ideation for R&D Innovation)

การวิจัยคือการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ ซึ่งงานวิจัยแต่ละชิ้นมีความเป็นระบบและเชื่อถือได้มากน้อยแตกต่างกัน การวิจัยกับการค้นคว้าถือเป็นเรื่องเดียวกัน การวิจัยที่ดีต้องเริ่มจากการค้นคว้ามาก่อนและดำเนินการด้วยวิธีการใหม่ๆ สร้างสรรค์ พัฒนาต่อยอดความคิดเป็นการสร้างสร้างมูลค่าใหม่ๆ ให้เป็นที่ยอมรับของสังคมไม่ขัดต่อศีลธรรม จรรยาบรรณ ขนมธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ทั้งนี้ ความคิดริเริ่มที่นำมาใช้อย่างสัมฤทธิ์ผลในหลายสาขานั้น ต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และเกิดการเปลี่ยนแปลงสร้างนวัตกรรมงานวิจัยซึ่งเพิ่มมูลค่าด้านเศรษฐกิจ

กระบวนการวิจัยนั้นเริ่มตั้งแต่การกำหนดปัญหาการวิจัย  วัตถุประสงค์ ขอบเขต กรอบแนวคิด และสมมติฐานการวิจัย ตลอดจนออกแบบ  รวบรวมข้อมูล  ประมวล วิเคราะห์ผล  และเขียนรายงานการวิจัยนักวิจัยที่ดีต้องหาเรื่องที่ใช่  ประเด็นวิจัยที่ชอบ ค้นคว้าก่อนลงมือวิจัย  รู้อะไรอยู่ก่อนบ้าง หาเป้าหมายอยากรู้อะไรอีกจากที่ไปค้นคว้ามา   เหลาโจทย์ลับคำถามวิจัยให้แหลมคม   กำหนดวิธีการเลือกวิธีหาข้อมูลมาตอบคำถาม ทำงานภาคสนามเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ   ถามหาความรู้ใหม่ ข้อมูลที่ได้บอกอะไรใหม่   ใช้บทคัดย่อนำทางคิดให้ชัด  จัดลำดับความสำคัญ นำเสนออย่างสร้างสรรค์สื่อสารความรู้สู่การเปลี่ยนแปลง มุ่งมั่นสู่ขั้นเทพ  ซึ่งมีผู้กล่าวว่า “เดินทางหมื่นลี้  เริ่มต้นที่ก้าวแรก”  นั่นคือ  การเริ่มต้น สำคัญเสมอ

สำหรับคำว่า “นวัตกรรม” นั้นหมายถึงสิ่งใหม่  ความรู้ใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อคุณภาพชีวิต สังคม และเศรษฐกิจที่ดีขึ้นกว่าเดิม

ระบบเศรษฐกิจปัจจุบัน โครงสร้างเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้มีความหลากหลาย ผู้ผลิต วัตถุดิบ ต้นน้ำ  การไหลของเงินทุน และการบริหารความเสี่ยงเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม    การเคลื่อนย้ายสินค้าสู่ลูกค้าโดยมีกิจกรรมผลิตสินค้าที่เพิ่มมูลค่าสูงตามความต้องการของลูกค้า  การจัดส่งสินค้าด้วยต้นทุนต่ำที่สุด และบริการที่ไว้วางใจได้   การขนส่งการเก็บรักษา  การแปรรูป   การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นการเปิดโอกาสขยายธุรกิจไปยังตลาดเพื่อนบ้าน การหาพันธมิตร การเข้าถึงตลาดผู้บริโภคได้เร็วและตรงจุด เป็นเครื่องยืนยันการเติบโตของตลาดในอนาคต ธุรกิจด้านน้ำ อาหารและพลังงาน  มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการผสานเชื่อมโยงองค์ความรู้ ฐานข้อมูล และตัวชี้วัดกระบวนการผลิตทั้งสามด้านเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ มีการสนับสนุนการทำวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความมั่นคงทั้งสามด้านและปฏิสัมพันธ์กับระบบนิเวศสังคมที่ชัดเจนขึ้น เป็นการขับเคลื่อนสังคมตามแนวทางเศรษฐกิจสีเขียวและการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงต่อไปได้

มีคำกล่าวที่น่าสนใจที่กล่าวว่า “Research is to use Money to create Knowledge, Innovation is to use Knowledge to create Money” นวัตกรรมจึงถือเป็นการก้าวไปสู่ความมั่งคั่งในอนาคตอีกก้าวหนึ่ง นวัตกรรมจะผลักดันให้มีการเติบโตของผลิตภาพในระยะยาวและความสามารถในการแข่งขันในอนาคตโดยนำมาเชื่อมโยงกับแผนการตลาดเพื่อสร้างสินค้าใหม่หรือพัฒนาสินค้าเดิมที่มีอยู่ให้ตอบสนองได้ตรงความต้องการผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ การคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ปรับปรุงการผลิตให้ดีขึ้น   โดยการใช้ Process Innovation   กระบวนการการนำงานวิจัยมาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพจะเป็นการลดต้นทุนก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มของสินค้าตลอดทั้งกระบวนการดำเนินตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การเคลื่อนย้ายขนส่ง การจัดเก็บสินค้า และการให้บริการแก่ลูกค้า การพัฒนางานวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศนั้นเป็นการสร้างงานวิจัยที่ดีกว่า ทั้งนี้ ต้องมีการสนับสนุนร่วมมือกันระหว่างนักวิจัยผ่านเครือข่ายเพื่อสร้างผลงานที่มีคุณค่า แรงขับเคลื่อนนวัตกรรมจะต้องดำเนินการด้วยวิธีที่แยบยลไม่สิ้นเปลือง ขยายผลรวดเร็ว โดยอาศัยปัจจัยที่มีอยู่และแนวคิดใหม่ สรุปเชื่อมโยงพลังปัจจัยนวัตกรรมให้ครบวงจร โดยการสร้างระบบที่ประสานพลัง know-how ทางการตลาด การจัดการ กำลังการเงิน และ เทคโนโลยี เข้ากับ อุตสาหกรรมการผลิต ลดความเสี่ยงในกระแสการลงทุน โดยการสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและย่อม ด้วย know-how ทางเทคโนโลยีและการจัดการ ร่วมกับแหล่งเงินทุนในรูปกองทุนรวม และการสนับสนุนงานด้านความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยีโดยองค์กรภาครัฐเชื่อมโยงและถ่ายทอดขีดความสามารถทางเทคโนโลยี การเริ่มธุรกิจเทคโนโลยี โดยคัดเลือกจากผลงานวิจัยและพัฒนาในประเทศ การคัดสรร พัฒนา และสร้างการยอมรับโครงการเทคโนโลยีเชิงยุทธศาสตร์จะสร้างความตื่นตัวและความกล้าในการทำนวัตกรรมอย่างกว้างขวางโดยโครงการให้รางวัล โครงการประชาสัมพันธ์ และโครงการฝึกอบรม เชื่อมโยงกลไกนโยบาย และองค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรม การพัฒนาแนวทางซึ่งมีขั้นตอนและเครื่องมือจัดการกระบวนการนวัตกรรมในอุตสาหกรรมผลิต โดยขั้นตอนของการจัดการกระบวนการนวัตกรรมผู้วิจัยจะต้องกำหนดปัญหา กำหนดระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูล รวมทั้งระยะเวลาการสำรวจ ระยะการพัฒนา ระยะการดำเนินการ และ ระยะประเมินคุณค่า โดยแต่ละระยะจะประกอบไปด้วยขั้นตอนย่อยในระยะนั้นๆ จากนั้นจะต้องรวบรวมเครื่องมือต่างๆ จากงานวิจัย หนังสือ และวารสารวิชาการที่เกี่ยวข้องของแต่ละขั้นตอน อีกทั้งยังสาธิตการใช้งานเครื่องมือในทุกขั้นตอน

กรณีศึกษา งานวิจัยหัวข้อการพัฒนากระบวนการล้างทำความสะอาดเครื่องกรอง โดยสามารถลดเวลาการล้างเครื่องกรองจาก 45 นาที เป็น 17 นาที ซึ่งมีคุณค่าต่อเศรษฐกิจคือ มีระยะเวลาคืนทุนภายใน 2 ปี และมีคุณค่าต่อสังคม มีการจัดทำเอกสารขั้นตอนการดำเนินงานของการจัดการกระบวนการนวัตกรรม เพื่อให้ผู้บริหารได้ทดลองใช้ในโรงงานตัวอย่าง จากนั้นประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารที่มีต่อแนวทางการจัดการกระบวนการนวัตกรรมที่ได้พัฒนาขึ้น ทั้งนี้จากการประเมินความพึงพอใจของผู้บริหาร พบว่ามีระดับความพึงพอใจต่อแนวทางการจัดการกระบวนการนวัตกรรม

กล่าวโดยสรุปยุทธศาสตร์การเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ด้านการปรับโครงสร้างการผลิตและการค้าเพื่อสร้างฐานการผลิตให้เข้มแข็ง การพึ่งพาตนเอง และสร้างภูมิคุ้มกันของระบบเศรษฐกิจ การผลักดันกระบวนการเพิ่มผลผลิตของประเทศโดยใช้นวัตกรรมในการพัฒนากลไกในการเพิ่มผลผลิตจะ พัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้ประโยชน์ในภาคการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและยกระดับคุณภาพสินค้า การพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีของตนเองเพื่อต่อยอด ลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ  การสร้างนวัตกรรม จึงเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย ประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน มีการนำวิธีการจัดระบบ มาพิจารณาใช้เข้าไปในกระบวนการ ผลลัพธ์ให้เหมาะสม การวิจัยว่าจะช่วยให้ดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งนี้ยังไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานปัจจุบัน เป็นการสร้างสิ่งใหม่ที่แตกต่างจากคนอื่น เปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างให้เป็นโอกาสที่ชัดเจน และมุ่งเน้นถึงการพัฒนา ต้องมีการลงมือทำ นวัตกรรมสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ปฏิบัติได้ ได้ผลจริง  และมีการเผยแพร่ออกสู่ชุมชน

………………………………………

สรุปจากการบรรยายหลักสูตร “ TISTR Capacity Buiding :Leading to Professional Practice”

การพัฒนาสมรรถนะนักวิจัยและนักวิชาการ วว สู่เส้นทางมืออาชีพ” ของ วว. รุ่น 3/2558

วิทยากร      ดร. อาภารัตน์ มหาขันธ์

สรุปเรียบเรียงโดย นางสาวเมกาวตี  โฉมทอง  กองพัฒนาบุคคล

ใส่ความเห็น