หน่อไม้อ่อนเป็นแหล่งอุดมไปด้วยสารอาหารที่มี พบว่า ประโยชน์ต่อสุขภาพ มีทั้งสารต้านอนุมูลอิสระและคุณสมบัติต้านมะเร็ง ได้มีการทบทวนผลงานวิจัย พบว่า “หน่อไม้สามารถเป็นหนึ่งในส่วนผสมของอาหารเพื่อสุขภาพ โดย นาธาน เกรย์ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2554
“หน่อไม้อ่อนไม่เพียงแค่อร่อยเท่านั้น แต่อุดมไปด้วยส่วนประกอบของสารอาหาร มีโปรตีนเป็นส่วนใหญ่คาร์โบไฮเดรต เกลือแร่ และใยอาหารและมีน้ำตาลและไขมันต่ำ” นักวิจัยซึ่งนำโดย ศาสตราจารย์ไนร์มาลา ชงธรรม (Nirmala Chongtham) แผนกพฤกษศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยปัญจาบเขียนไว้
“นอกจากนี้หน่อไม้อ่อนยังมี ไฟโตสเตอรอล (Phytosterols) ซึ่งลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในอาหารที่รับประทานเข้าไป จะช่วยรักษาระดับคอเรสเตอรอลในร่างกาย และส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน และใยอาหารปริมาณสูงที่สามารถระบุได้ว่าเป็นอาหารที่ให้ประโยชน์ทางยาหรือประโยชน์ต่อสุขภาพ รวมถึงการป้องกันหรือรักษาโรค [nutraceuticals] ซึ่งเป็นที่ดึงดูดความสนใจของผู้สนับสนุนและนักวิทยาศาสตร์ด้านสุขภาพ”
ในประเทศจีน มีการนำไม้ไผ่มาใช้ในงานอุตสาหกรรม และยังพบว่า หน่อไม้เป็นผักป่าดั้งเดิมของประเทศจีนมานานกว่า 2,500 ปี อุดมไปด้วยสารอาหารและเป็นอันดับ 1 ใน 5 ของอาหารเพื่อสุขภาพ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ร้านอาหารจีนทั่วโลกนิยมให้ประชาชนในหลายประเทศได้ลิ้มรสหน่อไม้ มีการบริโภคหน่อไม้มากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีการบริโภคหน่อไม้ทั่วโลกมากกว่า 2 ล้านตันในแต่ละปี ซึ่งประเทศจีนเพียงประเทศเดียวผลิตได้ถึงประมาณ 1.3 ล้านตัน
ประโยชน์ต่อสุขภาพ
ศาสตราจารย์ไนร์มาลา ชงธรรม (Nirmala Chongtham) และคณะได้อธิบายว่า งานวิจัยสมัยใหม่เสนอแนะให้เห็นว่าหน่อไม้อ่อนที่อุดมไปด้วยสารอาหารให้ประโยชน์ด้านสุขภาพเป็นอย่างมาก “สามารถป้องกันโรคมะเร็งและการลดน้ำหนักเพื่อลดระดับคอเลสเตอรอล ในการเพิ่มความอยากอาหารและการย่อยอาหาร”
ยังมีการรายงานว่าหน่อไม้มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียและไวรัส นอกเหนือจากเป็นสารต้านอนุมูลอิสระสูงเนื่องจากมีสารฟีนอล
“หน่อไม้ยังมีสารต่อต้านสารก่อมะเร็งและเป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่ช่วยลดอนุมูลอิสระที่ผลิตสารก่อมะเร็งที่เป็นอันตรายได้อย่างมีประสิทธิผล”
นอกจากนี้หน่อไม้ที่ได้จากไพโรไลเสท(การให้ความร้อนแก่สารอินทรีย์ที่ปราศจากออกซิเจนหรือที่มีอากาศจำกัด) ได้รับการเสนอให้เป็นยาต้านต้านจุลชีพ เชื้อรา และเพื่อปกป้องเซลล์ประสาทจากการถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ (oxidative stress ที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเรื้อรังมากกว่าเจ็ดสิบชนิด ซึ่งเป็นพื้นฐานของโรคหลอดเลือดหัวใจเกร็งตัว มะเร็ง โรคลมปัจจุบัน ข้อต่ออักเสบ การแข็งตัวของเนื้อเยื่อซ้ำซ้อน อัลไซเมอร์ และความเสื่อมเฉพาะจุด เป็นกระบวนการเดียวกับการที่ทำให้เหล็กเกิดสนิม หรือ ชิ้นแอปเปิ้ลที่ตัดแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล )
คุณค่าทางโภชนาการ
ศาสตราจารย์ไนร์มาลา ชงธรรม (Nirmala Chongtham) ระบุว่าหน่อไม้ มีแคลอรีต่ำ ใยอาหารสูง และอุดมไปด้วยสารอาหารรวมทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต กรดอะมิโน แร่ธาตุ, ไขมัน, น้ำตาล, ใยอาหาร, และเกลืออนินทรีย์
“หน่อไม้เป็นแหล่งที่ดีของแร่ธาตุซึ่งประกอบด้วย โพแทสเซียม, แคลเซียม, แมงกานีส, สังกะสี, โครเมียม, ทองแดง เหล็กเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งฟอสฟอรัสและซีลีเนียมในปริมาณที่น้อยกว่า”
หน่อไม้สดยังเป็นแหล่งที่ดีของ ไธอะมีน (วิตามินบี 1), ไนอาซิน (วิตามินบี 3), วิตามินเอ, วิตามินบี 6 และวิตามินอี และเป็นที่รู้จักกันว่ามีกรดอะมิโนที่แตกต่างกัน 17 ประเภท และในกลุ่มนี้มีแปดอย่างที่มีความจำเป็นสำหรับร่างกายมนุษย์
หมายเหตุ: มีคุณย่อมมีโทษ เพื่อความปลอดภัยในการบริโภคหน่อไม้ ควรปฏิบัติดังนี้
1. ก่อนที่จะนำหน่อไม้มาประกอบอาหาร ให้ต้มในน้ำเดือดนานอย่างน้อย 10 นาที เพื่อลดระดับของสารไซยาไนด์
2. กรณีหน่อไม้ปี๊บ ให้ต้มในน้ำเดือดเป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที เพื่อฆ่าเชื้อคลอสทริเดียม โบทูลินัม และเทน้ำที่ใช้ต้มทิ้ง ห้ามนำมาใช้ปรุงอาหาร
3. ผู้ป่วยเป็นโรคเกาต์ ไม่ควรรับประทาน เพราะในหน่อไม้มีสารพิวรินสูง ซึ่งสารตัวนี้อาจจะทำให้กรดยูริกสูงขึ้นที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเกาต์ ซึ่งกรดยูริกเป็นสารที่เกิดจากการเผาผลาญของพิวรีน มีมากในเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ถั่วต่างๆ และพืชผักอ่อนโดยเฉพาะหน่อไม้
———————————————————
เรียบเรียงโดย วิลาวัลย์ พงษ์พิทักษ์
ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (ศทม.)
เอกสารอ้างอิง:
Comprehensive Reviews in Food Science and Food Safety Volume 10, Issue 3 , Pages 153–168.
“Nutritional Properties of Bamboo Shoots: Potential and Prospects for Utilization as a Health Food” Authors: N. Chongtham, M. Singh Bisht, S. Haorongbam