หลักสูตร “เปลี่ยนการสื่อสารให้ง่ายขึ้นด้วย Infographics สื่อแห่งอนาคต”
ตอนที่ 4 : “เทคนิคการเลือกใช้สี สำหรับการออกแบบ วางรูปแบบโครงร่างของสี”
เรียบเรียงโดย กนกพร ปรีเปรม
กองจัดการความรู้ ศูนย์ความรู้
>>>>>
การเลือกใช้สีตามทฤษฎีสี
สี (COLOUR) หมายถึง ลักษณะกระทบต่อสายตาให้เห็นเป็นสี มีผลถึงจิตวิทยา คือ มีอำนาจให้เกิดความเข้มของแสงที่อารมณ์และความรู้สึกได้ การที่ได้เห็นสีจากสายตา สายตาจะส่งความรู้สึกไปยังสมองทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆ ตามอิทธิพลของสี เช่น สดชื่น ร้อน ตื่นเต้น เศร้า สีมีความหมายอย่างมากเพราะศิลปินต้องการใช้สีเป็นสื่อสร้างความประทับใจในผลงานของศิลปะและสะท้อนความประทับใจนั้นให้บังเกิดแก่ผู้ดู มนุษย์เกี่ยวข้องกับสีต่างๆ อยู่ตลอดเวลาเพราะทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวนั้นล้วนแต่มีสีสันแตกต่างกันมากมาย สีเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเพื่อประโยชน์กับตนเองและผู้สร้างงานจิตรกรรมเพราะเรื่องราวของสีนั้นมีหลักวิชาการเป็นวิทยาศาสตร์ จึงควรทำความเข้าใจวิทยาศาสตร์ของสีจะบรรลุผลสำเร็จในงานมากขึ้น ถ้าไม่เข้าใจเรื่องสีดีพอสมควร ถ้าได้ศึกษาเรื่องสีดีพอแล้ว งานศิลปะก็จะประสบความสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง
คำจำกัดความของสี
- แสงที่มีความถี่ของคลื่นในขนาดที่ตามนุษย์สามารถรับสัมผัสได้
- แม่สีที่เป็นวัตถุ (PIGMENTARY PRIMARY) ประกอบด้วย แดง เหลือง น้ำเงิน
- สีที่เกิดจากการผสมของแม่สี
คุณลักษณะของสี
- สีแท้ (HUE) คือ สีที่ยังไม่ถูกสีอื่นเข้าผสม เป็นลักษณะของสีแท้ที่มีความสะอาดสดใส เช่น แดง เหลือง น้ำเงิน
- สีอ่อนหรือสีจาง (TINT) ใช้เรียกสีแท้ที่ถูกผสมด้วยสีขาว เช่น สีเทา, สีชมพู
- สีแก่ (SHADE) ใช้เรียกสีแม้ที่ถูกผสมด้วยสีดำ เช่น สีน้ำตาล
ประเภทของสี
สีสามารถแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ
- สีธรรมชาติ
- สีที่มนุษย์สร้างขึ้น
สีธรรมชาติ เป็นสีที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น สีของแสงอาทิตย์ สีของท้องฟ้ายามเช้า เย็น สีของรุ้งกินน้ำ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ตลอดจนสีของ ดอกไม้ ต้นไม้ พื้นดิน ท้องฟ้า น้ำทะเล
สีที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือได้สังเคราะห์ขึ้น เช่น สีวิทศาสตร์ มนุษย์ได้ทดลองจากแสงต่างๆ เช่น ไฟฟ้า นำมาผสมโดยการทอแงประสานกัน นำมาใช้ประโยชน์ในด้านการละคร การจัดฉากเวที โทรทัศน์ การตกแต่งสถานที่
วรรณะของสี
คือ สีที่ให้ความรู้สึกร้อน-เย็น ในวงจรสีจะมีสีร้อน 7 สี และสีเย็น 7 สี ซึ่งแบ่งที่สีม่วงกับสีเหลือง ซึ่งเป็นสีกลางเป็นได้ทั้งสองวรรณะ
- 1. สีตรงข้าม หรือสีตัดกัน หรือสีคู่ปฏิปักษ์ เป็นสีที่มีค่าความเข้มของสีตัดกันอย่างรุนแรง ในทางปฏิบัติไม่นิยมนำมาใช้ร่วมกันเพราะจะทำให้แต่ละสีไม่สดใสเท่าที่ควร การนำสีตรงข้ามกันมาใช้ร่วมกัน อาจกระทำได้ ดังนี้
1) มีพื้นที่ของสีหนึ่งมาก อีกสีหนึ่งน้อย
2) ผสมสีอื่นๆ ลงไปในสีใดสีหนึ่งหรือทั้งสองสี
3) ผสมสีตรงข้ามลงไปในสีทั้งสองสี
- 2. สีกลาง คือ สีที่เข้าได้กับทุกสี สีกลางในวงจรสี มี 2 สี คือ
สีน้ำตาล กับ สีเทา
1) สีน้ำตาล เกิดจากสีตรงข้ามกันในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนที่เท่ากัน สีน้ำตาลมีคุณสมบัติสำคัญ คือ ใช้ผสมกับสีอื่นแล้วจะทำให้สีนั้นๆ เข้มขึ้น โดยไม่เปลี่ยนแปลงค่าสี ถ้าผสมมากๆ เข้าก็จะกลายเป็นสีน้ำตาล
2) สีเทา เกิดจากทุกสีๆ สีในวงจรผสมกัน ในอัตราส่วนเท่ากัน สีเทา มีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ ใช้ผสมสีอื่นๆ แล้วจะทำให้มืด หม่น ใช้ในส่วนที่เป็นเงา ซึ่งมีน้ำหนักอ่อนแก่ในระดับต่างๆ ถ้าผสมมากๆ เข้าจะกลายเป็นสีเทา
ติดตามอ่านตอนที่ 5 : “การออกแบบ Infographics ออกแบบงานโดยยึดความง่าย สบายตา ไม่รก และสามารถสื่อถึงข้อมูลอย่างรวดเร็ว” ในโอกาสต่อไป
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
ขอบคุณที่มาข้อมูล และภาพประกอบจาก
แขเพ็ญอำไพ พิชญ์ศิณี, 2558. เปลี่ยนการสื่อสารให้ง่ายขึ้นด้วย Infographic สื่อแห่งอนาคต. กรุงเทพ : บริษัท เอไอทีซี จำกัด, หน้า 2-27.