เคล็ด (ไม่) ลับในการดูแลตนเองเมื่อมีอาการไข้หรือตัวร้อน

โดย นายเอก ธนกิจวนิชกุล

ห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณสมบัติวัสดุ

>>>>>

เนื่องจากประเทศไทยเข้าสู่ช่วงต้นฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2559 ตามประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา  สิ่งที่ตามมา ก็คือ สภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง เช่น ฝนตกแล้วแดดออกสลับไปกันในแต่ละวัน เป็นต้น  ส่งผลให้เด็กและผู้สูงอายุเกิดอาการตัวร้อนเป็นไข้ได้ ศ.นพ.เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์ได้นิยามอาการตัวร้อนเป็นไข้ไว้ดังนี้ ไข้หรือตัวร้อน หมายถึง อุณหภูมิกายเพิ่มสูงกว่าปกติ หากเป็นอุณหภูมิที่วัดทางปากต้องสูงเกิน 37.2 องศาเซลเซียส ซึ่งเวลาที่มีอาการไข้นั้นไม่จำเป็นว่าทุกส่วนของร่างกายจะต้องร้อนเท่ากันหมด อาจร้อนที่ศีรษะ ลำตัว และแขนขา แต่ฝ่ามือฝ่าเท้าเย็น [1] ดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 อาการไข้หรือตัวร้อนที่เกิดขึ้น

ดังนั้นการรักษา/ดูแลตนเองเมื่อมีอาการเป็นไข้ จากรูปที่ 2 แสดงให้เห็นถึงข้อควรปฏิบัติในระหว่างที่มีอาการตัวร้อน ซึ่งข้อปฏิบัติดังกล่าว [3-5] ประกอบไปด้วย

  1. การดื่มน้ำมากๆ
  2. การเช็ดตัวบริเวณหน้าผาก, ต้นคอ, ข้อพับตามแขนและขา รวมทั้งบริเวณหน้าอกและแผ่นหลังของร่างกายเพื่อลดไข้ ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นบริเวณที่ช่วยระบายความร้อนหลังการเช็ดตัว
  3. การพักผ่อน/นอนหลับเพิ่มขึ้น ในบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก
  4. การสวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้และเหมาะสมกับสภาพอากาศ
  5. การรับประทานยาลดไข้ทุกๆ 6-8 ชั่วโมงภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร
  6. การประยุกต์ใช้การแพทย์ทางเลือก  เช่น

–  การดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำสมุนไพร เช่น น้ำขิง เพื่อขับเหงื่อลดไข้

– การใช้น้ำมันหอมระเหยมาช่วยให้ทางเดินหายใจสะดวกขึ้น อาทิ น้ำมันยูคาลิปตัส

รูปที่ 2 การดูแลรักษาตนเองเมื่อมีอาการไข้หรือตัวร้อน [2]

นอกจากนี้ทางโรงพยาบาลต่างๆ ของรัฐในปัจจุบัน อาทิ โรงพยาบาลศิริราช หรือโรงพยาบาลรามาธิบดี ได้มีการรณรงค์นโยบายส่งเสริมสุขนิสัยที่ดี ก็คือ การล้างมือโดยใช้เจลล้างมือ ซึ่งมีบริการในจุดต่างๆ ของโรงพยาบาลดังกล่าว รวมทั้งผู้เขียนได้รับฟังข้อมูลทางวิทยุเกี่ยวกับการป้องกันการระบาดโรคของคนญี่ปุ่น โดยเฉพาะโรคไข้หวัดนกได้รายงานว่า คนญี่ปุ่นเมื่อเดินทางกลับเข้าบ้านหรือที่พัก คนญี่ปุ่นจะล้างมือ ล้างจมูก และบ้วนปากด้วยน้ำสะอาดทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นฤดูไหนๆ หรืออากาศเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ถ้าใส่ใจสุขภาพด้วยการล้างมือเสมอๆ ทำให้เรานั้นห่างไกลจากเชื้อโรค

…………………………….

 

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก

  1. ศ.นพ.เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, ไข้หรือตัวร้อน, http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=274, accessed on 14/6/2016
  2. กองเวชกรรมป้องกันสารสนเทศ กรมแพทย์ทหารเรือ, การดูแลรักษาตนเองเมื่อเป็นไข้ http://www.nmd.go.th/preventmed/self/commoncold.html , accessed on 14/6/2016
  3. ดร.จริยาวัตร คมพยัคฆ์, 2528, การดูแลเมื่อมีไข้, คอลัมน์: พยาบาลในบ้าน, นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 72, https://www.doctor.or.th/article/detail/6743 , accessed on 15/6/2016
  4. โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ม 2556, เมื่อลูกไม่สบายลดไข้อย่างไรถูกวิธี http://www.siphhospital.com/th/news/article-details.php?id=67 , accessed on 156/2016
  5. สายสวาท พระคำยาน, 2543, รักษาโรคหวัดด้วยวิธีทางธรรมชาติ, เทคโนโลยีสำหรับชาวชนบท เล่มที่ 8, ศูนย์บริการเอกสารการวิจัยแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
  6. [Online]. Available at : https://kaewcha.wordpress.com/categoryสมุนไพรลดไข้/ [accessed 11 July 2016].
  7. [Online]. Available at : http://www.nmd.go.th/preventmed/self/commoncold.html [accessed 11 July 2016].
  8. [Online]. Available at : http://www.nmd.go.th/preventmed/self/commoncold.html [accessed 11 July 2016].

 

ใส่ความเห็น